การศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการตัดถ่ายระบบโทรศัพท์แอนะล็อกสู่ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบและขยายขนาดของระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 253 หมายเลขครอบคลุมทั่วทั้งมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปรับโทรศัพท์จากเดิมที่เป็นระบบผสมระหว่างระบบแอนะล็อกและระบบ VoIP ให้เป็นระบบ VoIP แบบเต็มรูปแบบ โดยการดำเนินงานประกอบไปด้วย การติดตั้งจุดใช้งานโทรศัพท์ระบบ NPRU-VoIP ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย จำนวน 253 จุด การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อกับระบบ GSM และ การติดตั้งระบบและโอนย้ายเบอร์มหาวิทยาลัยปัจจุบันเข้าสู่คู่สาย E1
จากการทดสอบประสิทธิภาพของระบบในเชิงคุณภาพเสียง พบว่า คุณภาพเสียงของระบบ NPRU-VoIP มีความคมชัด อยู่ในระดับที่ดีมาก (ค่าคะแนน MOS = 4.38-4.39) ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นจากการออกแบบติดตั้งจุดใช้งานด้วยเทคนิคแบบควบคุมจากศูนย์กลาง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบในระยะยาว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่มหาวิทยาลัยคำนึงถึงเป็นอย่างมาก สำหรับในเรื่องความสามารถในการลดค่าโทรศัพท์รายเดือน พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายค่าโทรศัพท์รายเดือนจากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 35,000 บาท เหลือเพียง 8,474.40 บาท หรือ สามารถลดค่าโทรศัพท์ลงได้ถึง 75% ในส่วนของความพึงพอใจของผู้ใช้งานพบว่าในด้านอุปกรณ์และการติดตั้ง ด้านระบบโทรศัพท์ และด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีค่าความพึงพอใจเฉลี่ย 3.96, 4.08, 4.65 จาก 5 ตามลำดับ