การศึกษาเบื้องต้นของคลองช่องลัดเพื่อลดระดับและเวลาน้ำท่วมตามลำน้ำชี – มูล

Main Article Content

ฉลอง เกิดพิทักษ์
ชัยวัฒน์ ขยันการนาวี

Abstract

แม่น้ำชีมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนลำน้ำสาขา 2 แห่งได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์บนลำน้ำพองความจุที่ระดับเก็บกัก
2,263 ล้านลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาวบนลำปาว ความจุเพิ่มเป็น 1,600 ล้านลบ.ม. ส่วนบนลำน้ำมูลและลำน้ำสาขาเหนือที่ตั้งจังหวัดนครราชสีมามีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความจุมากกว่า 100 ล้านลบ.ม. รวม 4 แห่ง ต้นลำน้ำมูลที่สถานี M.2 อ.จักราช ลงไปเป็นระยะทางประมาณ 100 กม. มีความลาดชันสูงกว่าแม่น้ำชี จากนั้นจนถึงจุดบรรจบระยะทางประมาณ 400 กม. มีความลาดเทท้องน้ำใกล้เคียงกัน และรูปตัดตามยาวเป็น concave upward เช่นเดียวกับลำน้ำทั่วไป สองฝั่งของแม่น้ำชีมี off-stream storage หลายแห่งในขณะที่แม่น้ำมูลมี flood plain กว้างและยาวมากกว่า 100 กม. บริเวณ อ.ราษีไศล ซึ่งสามารถชะลออุทกภัยได้ ทั้งแม่น้ำชีและมูลมีการกัดเซาะตลิ่งที่รุนแรงบริเวณที่แม่น้ำคดเคี้ยวหลายจุด ซึ่งจากการศึกษาขั้นต้นสามารถขุดช่องลัดได้ ซึ่งทำให้ลด flood peak เพราะน้ำสามารถไหลได้เร็วขึ้นและยังป้องกันการกัดเซาะตลิ่งได้อีกด้วย แต่ต้องศึกษาถึงการที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมสูงขึ้นทางด้านท้ายน้ำได้

Article Details

How to Cite
เกิดพิทักษ์ ฉ., & ขยันการนาวี ช. (2015). การศึกษาเบื้องต้นของคลองช่องลัดเพื่อลดระดับและเวลาน้ำท่วมตามลำน้ำชี – มูล. Interdisciplinary Research Review, 8(2), 17–25. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/42781
Section
Research Articles