การศึกษาการรีไซเคิลปูนปลาสเตอร์ของแบบหล่อจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

Main Article Content

อานนท์ อางนานนท์
ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล
จักรพงษ์ แก้วขาว

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของปูนปลาสเตอร์ และหาแนวทางการนำปูนปลาสเตอร์ที่ถูกทิ้งมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์อีกครั้ง จากการวิเคราะห์หาหมู่ฟังก์ชั่นด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี พบว่า
เมื่อปูนปลาสเตอร์ที่ได้รับความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 340 องศาเซลเซียส จะไม่พบโครงสร้างของน้ำที่อยู่ในรูปแบบของแคลเซียมซัลเฟตเฮมิไฮเดรตที่จะสามารถทำให้ปฏิกิริยาผันกลับได้ ส่งผลให้ปูนปลาสเตอร์ไม่สามารถนำกลับมาปรับปรุงและขึ้นรูปใหม่ได้โดยตรง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำปูนปลาสเตอร์เก่าที่ผ่านกระบวนการทำเครื่องประดับแล้วมาผสมกับปูนปลาสเตอร์ใหม่ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการใด ๆ เพื่อเป็นการลดปริมาณการใช้ปูนปลาสเตอร์ใหม่ให้มากที่สุด จากการศึกษาพบว่าอัตราส่วนของปูนปลาสเตอร์ใหม่ต่อปูนปลาสเตอร์เก่า ที่สามารถใช้งานได้มากที่สุดคือ 60:40 โดยต้องผสมกับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม คือ 41.5 มิลลิลิตร และสามารถแข็งตัวได้ในเวลา 39 นาที

Article Details

How to Cite
อางนานนท์ อ., ศรีสิทธิโภคกุล ณ., & แก้วขาว จ. (2015). การศึกษาการรีไซเคิลปูนปลาสเตอร์ของแบบหล่อจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ. Interdisciplinary Research Review, 8(2), 45–51. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/42786
Section
Research Articles