การทำนายปริมาณกรดไขมันอิสระของข้าวก่ำอบแห้งระหว่างการเก็บรักษาด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง

Main Article Content

นิตยา จันกา
ชัยวัฒน์ รัตนมีชัยสกุล

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมการทางคณิตศาสตร์ ในการทำนายปริมาณกรดไขมันอิสระของข้าวก่ำด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนองภายหลังจากประยุกต์ใช้การอบแห้งด้วยเทคนิดฟลูอิดไดซ์เซชันอุณหภูมิสูง เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเพสไม่ให้ไฮโดรไลซิสลิพิดในรำข้าวเกิดเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็นหืนที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้บริโภค ข้าวเปลือกภายหลังจากการเก็บเกี่ยวที่ความชื้น 33.3% (d.b.) ถูกอบแห้งด้วยเครื่องฟลูอิไดซ์เบดที่อุณหภูมิ 100 130 และ 150oC จนกระทั่งความชื้นมีค่าลดลงเหลือ 22.0% (d.b.) ภายหลังจากการลดความชื้น ข้าวเปลือกถูกกะเทาะเปลือกให้อยู่ในรูปข้าวก่ำบรรจุในกระสอบพลาสติกสาน เพื่อวิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันอิสระตลอดช่วงระยะเวลาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิบรรยากาศประมาณ 30oC ความชื้นสัมพัทธ์ 50 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาพบว่า ที่ระยะเวลาการเก็บรักษาเดียวกันข้าวที่ผ่านการอบแห้งมีการก่อตัวของปริมาณกรดไขมันอิสระน้อยกว่าข้าวที่ไม่ได้ผ่านการอบแห้ง โดยการก่อตัวของปริมาณกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นจะมีปริมาณลดลงตามอุณหภูมิอบแห้งที่เพิ่มขึ้น การใช้สมการเพื่อทำนายปริมาณกรดไขมันอิสระของข้าวก่ำระหว่างการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 90 วันมีแนวโน้มที่สอดคล้องกับค่าที่ได้จากการทดลองเป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
จันกา น., & รัตนมีชัยสกุล ช. (2016). การทำนายปริมาณกรดไขมันอิสระของข้าวก่ำอบแห้งระหว่างการเก็บรักษาด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง. Interdisciplinary Research Review, 10(3), 24–30. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/43866
Section
Research Articles
Author Biographies

นิตยา จันกา, Nakhon Pathom Rajabhat University

Division of Crop production Technology, Faculty of Science and Technology

ชัยวัฒน์ รัตนมีชัยสกุล, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Prince of Chumphon Campus

Department of Engineering