การประยุกต์ใช้ปูนปลาสเตอร์เสื่อมสภาพจากการผลิตเซรามิกส์มาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อิฐประดับ

Main Article Content

พรชัย ปานทุ่ง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของอิฐประดับ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อิฐประดับ 3) ประเมินความพึงพอใจผู้บริโภคต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์อิฐประดับ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ อัตราส่วนผสมวัตถุดิบปูนปลาสเตอร์เสื่อมสภาพ (บดละเอียด) ซีเมนต์ และทราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือการสุ่มแบบเจาะจงจากตารางสามเหลี่ยม และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความแตกต่างทั้งหมดโดยหาค่าร้อยละ เฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของการดูดกลืนน้ำ และกำลังต้านแรงอัด

ผลการวิจัยพบว่า ส่วนผสมที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ โดยอิฐคอนกรีตจะต้องมีกาลังต้านแรงอัด ไม่น้อยกว่า 10.3 เมกะปาสคาล โดยอิฐคอนกรีตประเภทควบคุมความชื้นจะต้องมีความชื้นไม่เกิน 45% ของการดูดกลืนน้ำ ซึ่งสูตรที่ได้ตามมาตรฐานได้แก่ สูตรที่ 3-10 มีกำลังต้านแรงอัดอยู่ระหว่าง 15.24-30.61 เมกะปาสคาล และมีการดูดกลืนน้ำอยู่ระหว่าง   ร้อยละ 13.41-18.01 การประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์อิฐประดับ และความพึงพอใจต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ 1 แนวคิดจากธรรมชาติมีค่าเฉลี่ยที่ 4.25 (SD=.22) อยู่ในระดับดี ประโยชน์ใช้สอยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.04 (SD=.05) อยู่ในระดับมาก วัสดุและกรรมวิธีการผลิตมีค่าเฉลี่ยที่ 4.20 (SD=.28) อยู่ในระดับดี และรูปทรงมีค่าเฉลี่ยที่ 4.07 (SD=.07) อยู่ในระดับดี

Article Details

How to Cite
ปานทุ่ง พ. (2016). การประยุกต์ใช้ปูนปลาสเตอร์เสื่อมสภาพจากการผลิตเซรามิกส์มาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อิฐประดับ. Interdisciplinary Research Review, 10(3), 45–51. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/44969
Section
Research Articles