การพัฒนาน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเนื้อดินพื้นบ้าน

Main Article Content

พรชัย ปานทุ่ง

Abstract

การวิจัยครั้ง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนผสมวัตถุดิบในการผลิตน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเนื้อดินท้องถิ่น2) เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของส่วนผสมสูตรเคลือบหลังการเผาที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ อัตราส่วนผสมวัตถุดิบเนื้อดินบ้านดงดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซิลิกา และแคลเซียมคาร์บอเนต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสุ่มวัตถุดิบแบบเจาะจงจากตารางสามเหลี่ยม และหาคุณสมบัติทางกายภาพในด้านการหลอม ละลาย การไหลตัว สีที่ปรากฏหลังเผาที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส นำผลข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยของส่วนผสมวัตถุดิบ

ผลการวิจัย พบว่าอัตราส่วนผสมวัตถุดิบดินบ้านดงดินทองอยู่ในช่วงร้อยละ 10–40 ซิลิกาอยู่ในช่วงร้อยละ 10–30 และโซเดียมเฟลด์สปาร์อยู่ในช่วงร้อยละ 40–80 เหมาะสมในการทำคลือบเซรามิกส์ ได้แก่ สูตรที่ 15, 16, 17, 18, 26, 27, 28, 29, 30 และ 31 โดยการเติมซิงค์ออกไซด์ร้อยละ 5 ทุกสูตรส่วนผสม แคลเซียมคาร์บอเนตร้อยละ 3, 6, 9 ทุกสูตรส่วนผสม ผลการทดสอบด้านคุณสมบัติทางกายภาพทุกสูตรส่วนผสม มีการหลอมละลายและไม่มีการไหลตัว สีที่ปรากฏหลังเผาที่ 1,250 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศออกซิเดชั่น ได้แก่ สีดำออกน้ำตาล สีเขียวแก่ เผาในบรรยากาศรีดักชั่น สีที่ปรากฏได้แก่ สีดำ สีเขียว และสีเขียวออกครีม

Article Details

How to Cite
ปานทุ่ง พ. (2016). การพัฒนาน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเนื้อดินพื้นบ้าน. Interdisciplinary Research Review, 10(3), 38–44. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/45040
Section
Research Articles