ชีววิทยาบางประการของกุ้งแคระนิลพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน

Main Article Content

สยาม อรุณศรีมรกต
ชนกนันท์ จินดาประชา
สมฤทัย เจตเกษนิจ
อนงคณ์ หัมพานนท์

Abstract

ชีววิทยาของกุ้งแคระนิลพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ทำได้โดยศึกษาปัจจัยทางกายภาพของถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ พบว่าคุณลักษณะของน้ำที่เป็นแหล่งอาศัยของกุ้งแคระบริเวณชั้นน้ำตกมีค่าออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen, DO) อุณหภูมิ ค่าการนำไฟฟ้าและค่าพีเอชเท่ากับ 8.23±0.25 mg/L, 24.83±0.28oC, 155.07±3.60 µS/cm และ 6.97±0.21 ตามลำดับ ขณะที่แหล่งน้ำบริเวณลำธารมีค่าออกซิเจนละลายน้ำ อุณหภูมิ ค่าการนำไฟฟ้า และค่าพีเอชเท่ากับเท่ากับ 7.00±0.26 mg/L, 26.83±0.28oC, 173.67±4.64 µS/cm และ 6.50±0.10 ตามลำดับ จากนั้นเก็บตัวอย่ากุ้งแคระนิลมาเพาะเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเวลา 5 เดือน ข้อมูลด้านชีววิทยาที่ศึกษาได้ คือ ความยาวเฉลี่ยของกุ้งเพศผู้มีค่าเท่ากับ 20.28±1.74 มิลลิเมตร กุ้งเพศเมียที่ไม่ตั้งท้องมีค่าเท่ากับ 21.08±1.74 มิลลิเมตร และกุ้งเพศเมียที่ตั้งท้องมีค่าเท่ากับ 22.33±1.46 มิลลิเมตร กุ้งแคระเพศผู้จะมีลำตัวเรียว โคนหางและแพนหางเรียวเล็กกว่าเพศเมีย ในขณะที่กุ้งแคระเพศเมียมีลักษณะอวบอ้วนเพราะมีเปลือกมากเพื่อใช้สำหรับเก็บไข่บริเวณช่องท้อง (28-52 ฟอง) ลักษณะไข่กุ้งเป็นทรงกลมขนาดเล็ก มีสีน้ำตาล โดยลูกกุ้งมีอัตราการรอดตายร้อยละ 0-55.23 ซึ่งการศึกษาดังกล่าวทำให้เข้าใจถึงชีววิทยาของกุ้งแคระนิล สำหรับพัฒนาเป็นสัตว์เศรษฐกิจและการอนุรักษ์เพื่อความหลากหลายทางธรรมชาติในอนาคต

 

Article Details

How to Cite
อรุณศรีมรกต ส., จินดาประชา ช., เจตเกษนิจ ส., & หัมพานนท์ อ. (2016). ชีววิทยาบางประการของกุ้งแคระนิลพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน. Interdisciplinary Research Review, 10(3), 17–23. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/47927
Section
Research Articles