การออกแบบอ่างเก็บน้ำและการจัดการน้ำในอ่างด้วยแบบจำลอง

Main Article Content

ฉลอง เกิดพิทักษ์

Abstract

การคำนวณหาความจุอ่างเก็บน้ำเพื่อการชลประทานที่เหมาะสมด้วยแบบจำลองเป็นการศึกษาขั้นแผนหลัก ซึ่งแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบจำลองสำหรับคำนวณหาปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำที่ไม่สามารถควบคุมได้แต่สามารถนำมาใช้เพื่อการชลประทานได้ แบบจำลองสำหรับคำนวณหาความต้องการน้ำชลประทานและแบบจำลองระบบ ลุ่มน้ำข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณประกอบด้วย ข้อมูลอุทกวิทยาในอดีตเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี และข้อมูลจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำข้างเคียงที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยสมมุติความจุอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ กัน 3-4 ขนาด แล้วเลือกขนาดโครงการที่ให้อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อค่าลงทุนสูงสุดไปศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดต่อไป

เมื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบชลประทานท้ายอ่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการจัดสรรน้ำล่วงหน้ารายสัปดาห์ด้วยแบบจำลองที่เหมือนกัน แต่ใช้ข้อมูลจากการทำนายล่วงหน้ารายสัปดาห์โดยมีการเก็บข้อมูลกิจกรรมการเพาะปลูกรายสัปดาห์ฝนรายวัน และปริมาณน้ำที่ส่งรายวัน จากสนามมาปรับการจัดสรรน้ำในสัปดาห์ถัดไปพร้อมทั้งเก็บข้อมูลจากแปลงทดลองที่เลือกขึ้นในสนามมาสอบเทียบแบบจำลองพร้อมทั้งคำนวณหาประสิทธิภาพชลประทานที่สิ้นสุดฤดูกาลเพาะปลูกเพื่อนำไปปรับใช้ในฤดูการเพาะปลูกถัดไปต่อเมื่อได้ข้อมูลใหม่มากพอจึงทบทวนการศึกษาเพื่อคำนวณหากราฟสำหรับคำนวณหาพื้นที่เพาะปลูกฤดูแล้งใหม่

Article Details

How to Cite
เกิดพิทักษ์ ฉ. (2016). การออกแบบอ่างเก็บน้ำและการจัดการน้ำในอ่างด้วยแบบจำลอง. Interdisciplinary Research Review, 10(2), 1–7. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/54639
Section
Research Articles