การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไคโตซานจาก Mucor sp. และประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อก่อโรค

Main Article Content

จารุชา ยี่แสง
จรัญเพ็ชร สุขเขียว
ไอรดา ดวงจันทร์

Abstract

กากน้ำตาลเป็นผลผลิตพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สามารถตกผลึกน้ำตาลได้อีก จึงเป็นวัสดุเศษเหลือจากโรงงานน้ำตาลที่มีมากในประเทศไทย การใช้ประโยชน์จากกากน้ำตาลโดยนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จึงถือเป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรอย่างหนึ่ง งานวิจัยนี้จึงศึกษาการนำเอากากน้ำตาลที่มีมากในพื้นที่ จ.นครปฐม มาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนสำหรับผลิตไคโตซานจากเชื้อ Mucor sp. จากการศึกษาความเข้มข้นของกากน้ำตาล พีเอชเริ่มต้น และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและผลิตไคโตซาน พบว่าที่ความเข้มข้นของกากน้ำตาลร้อยละ 5 สภาวะพีเอชเริ่มต้นเท่ากับ 10 และ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ภายหลังทำการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 7 วัน จะให้การเจริญเติบโตและผลิตไคโตซานได้ดีที่สุดเท่ากับ 4,654 เซลล์ต่อตารางเซนติเมตร และ 2.94 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อนำไคโตซานที่สกัดได้มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรค 5 สายพันธุ์ พบว่าไคโตซานที่สกัดได้สามารถยับยั้งเชื้อ Escherichia coli, Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus และ Candida hypolytica ได้ร้อยละ 60, 52, 41 และ 23 ตามลำดับ โดยไคโตซานที่สกัดได้สามารถยับยั้งเชื้อ E. coli และ B. subtilis ได้ดีกว่าไคโตซานทางการค้า ในขณะที่ไคโตซานที่ผลิตได้และไคโตซานทางการค้าไม่สามารถยับยั้งเชื้อ Aspergillusniger ได้เลย

Article Details

How to Cite
ยี่แสง จ., สุขเขียว จ., & ดวงจันทร์ ไ. (2016). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไคโตซานจาก Mucor sp. และประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อก่อโรค. Interdisciplinary Research Review, 10(2), 44–51. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/54645
Section
Research Articles