การศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

สุนทรี จีนธรรม
ปัณณ์รภัส ถกลภักดี
จีรภัทร์ อัฐฐิศิลป์เวท

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชสมุนไพร ศึกษาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร และจัดระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลายของพรรณพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านดงบัง จากผลการวิจัยพบว่า  พืชสมุนไพรที่สำรวจพบในชุมชนบ้านดงบังมีจำนวน 150 ชนิด แบ่งเป็นไม้ยืนต้น 51 ชนิด (ร้อยละ 34.00) ไม้ล้มลุก 42 ชนิด (ร้อย ละ 28.00) ไม้พุ่ม 31 ชนิด (ร้อยละ 20.67) ไม้เลื้อย 23 ชนิด (ร้อยละ 15.33) และไม้น้ำ 3 ชนิด (ร้อยละ 2.00) ตามลำดับพืช สมุนไพรที่สำรวจมีวิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดมากที่สุด จำนวน 119 ชนิด (ร้อยละ 79.33) รองลงมา คือ การปักชำ จำนวน 51 ชนิด (ร้อยละ 34.00) การตอน จำนวน 26 ชนิด (ร้อยละ 17.33) การใช้เหง้าหรือหัว จำนวน 18 ชนิด (ร้อยละ12.00) การแยกหน่อ จำนวน 17 ชนิด (ร้อยละ 11.33) และการใช้วิธีอื่น ๆ 14 ชนิด (ร้อยละ 9.33) ตามลำดับจากการศึกษาภูมิปัญญา การใช้ประโยชน์ทางยาจากพืชสมุนไพร พบว่าพืชสมุนไพรที่สำรวจที่มีส่วนใบ/ยอดเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ทางยามากที่สุด 45 ชนิด (ร้อยละ 30.00) รองลงมา คือ ลำต้น/เปลือกจำนวน 44 ชนิด (ร้อยละ 29.33) ราก/หัว/เหง้า มีจำนวน 39 ชนิด (ร้อยละ 26.00) ผล/เมล็ดจำนวน 32 ชนิด (ร้อยละ 21.33) ดอกจำนวน 22 ชนิด (ร้อยละ 14.67) และทุกส่วนที่นำมาใช้เป็นยาได้ จำนวน 13 ชนิด (ร้อยละ 8.67) ตามลำดับพืชสมุนไพรที่สำรวจมีวิธีการใช้โดยการต้มมากที่สุดจำนวน 90 ชนิด (ร้อยละ60.00) รองลงมา คือ วิธีอื่น ๆ เช่น การสกัด คั่ว ตากแห้ง และบดผง จำนวน 30 ชนิด (ร้อยละ 20.00) คั้นสด จำนวน 17 ชนิด (ร้อยละ 11.33) และตำพอก จำนวน 14 ชนิด (ร้อยละ 8.67) ตามลำดับและการศึกษาทางด้านสรรพคุณทางยาของพืชสมุนไพรพบ ว่า พืชสมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกัน เช่น แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคอื่น ๆ และพืชสมุนไพรที่สำรวจที่มีใบเป็นส่วนที่นำมาประกอบอาหาร มีจำนวน 39 ชนิด (ร้อยละ 26.00) รองลงมาคือ ผลและยอด จำนวน อย่างละ 31 ชนิด (ร้อยละ 20.67) ดอก จำนวน 13 ชนิด (ร้อยละ 8.67) และส่วนอื่น ๆ จำนวน 9 ชนิด (ร้อยละ 6.00) เมล็ด จำนวน 6 ชนิด (ร้อยละ 4.00) ลำต้น จำนวน 5 ชนิด (ร้อยละ 3.33) และฝัก จำนวน 3 ชนิด (ร้อยละ 2.00) ตามลำดับ

พืชสมุนไพรในชุมชนบ้านดงบังที่สำรวจพบทั้งหมดได้จัดทำฐานข้อมูลซึ่งนำเสนอเป็นรายชนิด ประกอบด้วยชื่อพรรณ ไม้ ชื่อวงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่ออื่น ๆ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การขยายพันธุ์ สภาพแวดล้อม และประโยชน์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้นำไปเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์ด้านอื่นต่อไป

Article Details

How to Cite
จีนธรรม ส., ถกลภักดี ป., & อัฐฐิศิลป์เวท จ. (2016). การศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. Interdisciplinary Research Review, 10(3), 1–8. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/54710
Section
Research Articles