การพัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีรายรับ-รายจ่าย บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

Main Article Content

สุปรียา เดชรักษา
ทิพวิมล ชมภูคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีรายรับ-รายจ่าย บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) ประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันบัญชีรายรับ-รายจ่ายบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ 3) สอบถามความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันบัญชีรายรับ-รายจ่ายบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ชั้นปีที่ 4 จำนวน 30 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ
แอปพลิเคชันบัญชีรายรับ-รายจ่ายบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า 1) แอปพลิเคชันบัญชีรายรับ-รายจ่าย บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ระบบจัดการบัญชีผู้ใช้ ระบบจัดการรายรับ-รายจ่าย ระบบแจ้งเตือน (เมื่อผู้ใช้ใช้จ่ายเกินงบประมาณที่กำหนดไว้) ระบบแสดงผลรายงานงบประมาณรายรับ–รายจ่าย 2) ผลการประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันบัญชีรายรับ-รายจ่าย บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันบัญชีรายรับ-รายจ่าย บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เดชรักษา ส., & ชมภูคำ ท. (2018). การพัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีรายรับ-รายจ่าย บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 3(1), 1–7. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152842
บท
บทความวิจัย

References

ใจเดียว โกมลเพ็ชร์. (2554). พฤติกรรมการออมเงินของบุคลากรในวิทยาลัยนครราชสีมา.การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เนติภูมิ เกตุสิงห์. (2553). ความสำคัญของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย.สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/285944.
ประหยัด แลสันกลาง. (2554). พฤติกรรมการใช้จ่ายและการบริโภคของประชาชนในเขตเทศบาล.ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2552). พฤติกรรมการบันทึกบัญชีรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เพชรบุรี,1, 69-74.
สุพรรษา อนันต์. (2556). แอพพลิเคชันสำหรับควบคุมรายรับรายจ่าย.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเว็บคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ.