ระบบเตือนภัยการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ระยะไกลไร้สายโดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

Main Article Content

คุณากร สีหนู
ธัญญวรรษ บุษบา
ธานิล ม่วงพูล
อวยไชย อินทรสมบัติ

บทคัดย่อ

              ปัจจุบันรถจักรยานยนต์มีการเพิ่มสัญญาณเตือนภัยเข้าไปใช้งานควบคู่กับระบบป้องกันเดิมของรถ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรม เช่น ล็อคคอ ล็อคกุญแจ เป็นต้น ระบบเตือนภัยที่เสริมเข้ามาโดยทั่วไปจะเป็นการเตือนภัยด้วยเสียงไซเรนหรือเสียงแตรพร้อมด้วยสัญญาณไฟกระพริบ ซึ่งมีข้อเสียอยู่ที่ขอบเขตที่จะได้ยินเสียง งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาแก้ปัญหาเรื่องนี้ ด้วยการสร้างระบบที่เน้นไปที่การติดต่อแจ้งเตือนเจ้าของรถให้รู้ถึงสถานะของรถได้แม้อยู่ห่างไกลจากรถ ระบบนี้ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก (1) บอร์ดอาร์ดูไอโนสำหรับควบคุมการทำงาน (2) โมดูล GSM SIM900 ใช้สำหรับการโทรศัพท์ไปหาเจ้าของรถ (3) สวิตช์ปรอทเป็นเซ็นเซอร์ตรวจความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากการโจรกรรม และ (4) สัญญาณแตรแจ้งเตือนระยะใกล้  การทดลองแบ่งเป็นสองกรณีคือการยกล้อหน้าห้าครั้งและจับรถตั้งตรงห้าครั้ง ผลการทดลองระบบสามารถแจ้งเตือนได้ทั้ง 10 ครั้ง 

Article Details

How to Cite
สีหนู ค., บุษบา ธ., ม่วงพูล ธ., & อินทรสมบัติ อ. (2018). ระบบเตือนภัยการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ระยะไกลไร้สายโดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 3(1), 36–43. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152855
บท
บทความวิจัย

References

กายรัฐ เจริญราษฏร์ ภิเศก ภัทรเวสารัช และเจตน์ พวงศิลป. (2557). ระบบแจ้งเตือนบุกรุกผ่านเครือข่ายเครื่องแม่ข่ายโดยใช้เซนเซอร์ตรวจจับแบบไร้สาย. การประชุมวิชาการครุศาสตร์
อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที 7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพมหานคร.
ธวัช แสงสุด. (2555). ระบบติดตามและแจ้งเตือนการโจรกรรมรถยนต์ผ่านทาง SMS. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. จังหวัดสงขลา
ธานิล ม่วงพูล และอวยไชย อินทรสมบัติ. (2559). การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเสียงด้วยแอนดรอยด์และอาร์ดูไอโน.The 20th International Computer Science and Engineering
Conference 2016. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. จังหวัดเชียงใหม่.
สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) Digital Advertising Association (Thailand). (2560). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.daat.in.th/index.php [มกราคม 2560].
สมเกียรติ บุญรอดดิษฐ์ และสมคิด สุขสวัสดิ์. (2555). ระบบเตือนภัยการโจรกรรมรถยนต์ผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยข้อความสั้น. วรสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ สาขา
วิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร.กรุงเทพมหานคร.
อิทธิพล สวยสม และสุวรรณี อัศวกุลชัย. (2556). การพัฒนาโปรแกรมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการรักษาความปลอดภัยรถยนต์. KKU Engineering Journal. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.จังหวัด
ขอนแก่น.
ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (2555). สถิติการโจรกรรมรถยนต์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.manager.co.th [ธันวาคม 2559].