การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม

Main Article Content

ปิยสุดา ตันเลิศ
กุ้งนาง อุเหล่า
นภาพร พุทธวงศ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเรื่อง พืชใกล้ตัวเรา ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทีแบบไม่อิสระ


ผลวิจัยพบว่า 1)  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเรื่อง พืชใกล้ตัวเรา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00/83.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้  2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ค้นเมื่อ 16 กันยายน ,2558 จาก
https://www.mwit.ac.th/~person/01-Statutes/NationalEducation.pdf
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ อรุณการพิมพ์.
ณัติฐิญา พรหมทอง. (2550). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุ
ศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
เนติมา พัฒนมาศ. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ชีวิต พืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต การศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ปาลิตา เจนกิจณรงค์. (2552). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องภาวะโลกร้อน.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและ
เทคนิคศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2556). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.
ศุภรา แสงแก้ว. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
หฤทัย แสงไกร. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง โลกของสัตว์สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2. สารนิพนธ์ การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ