แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือสำหรับระบบลงเวลาการเข้าปฏิบัติงานโดยใช้การจดจำใบหน้า

Main Article Content

วิยดา ยะไวทย์
ขวัญฤทัย สิริจินดา
พณชัย บรรจงรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการทดลองใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อลงเวลาการทำงานจากผู้ทดสอบ จำนวน 20 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง 2) พัฒนาโปรแกรมจดจำใบหน้าเพื่อระบุตัวบุคคลโดยใช้การจดจำใบหน้า ผู้ใช้จะต้องทำการกรอกข้อมูลและถ่ายภาพใบหน้าในส่วนของการใช้งานครั้งแรกก่อนจึงจะสามารถลงชื่อปฏิบัติงานได้ แล้วทำการถ่ายภาพโดยให้อยู่ในลักษณะหน้าตรงเพื่อระบบจะตรวจจับใบหน้าได้ ในขั้นตอนการถ่ายภาพเพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลจะต้องทำการกดถ่ายภาพอย่างน้อย 5 ครั้ง และ 3) ศึกษาถึงวิธีการระบุตำแหน่งการใช้โทรศัพท์มือถือในการลงเวลาปฏิบัติงาน ส่วนการลงชื่อปฏิบัติงานจะต้องทำเช่นเดียวกันคืออยู่ในลักษณะหน้าตรงเพื่อจะตรวจจับใบหน้าได้แล้วกดปุ่มสแกน รอให้ข้อมูลแสดงออกมาทางหน้าจอ ตรวจสอบข้อมูล ซึ่งในส่วนนี้จะแสดงรหัสประจำตัว เวลาขณะใช้งาน และแสดง GPS ที่อยู่ปัจจุบัน เมื่อทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจึงทำการกดบันทึกเพื่อบันทึกเวลาที่เข้าปฏิบัติงานลงในฐานข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่าการนำแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วไปทดสอบและดูผลลัพธ์ของการทดสอบ พบว่า แอพพลิเคชั่นสามารถจดจำใบหน้าได้แม่นยำ 100%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ธนสรรค์ แก่นเพชร และคณะ. (2555). ระบบบันทึกการปฏิบัติงานออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.research.rmutt.ac.th/?p=10069
[2] A. Basavaraj and P. Nagaraj, "The Facial Features Extraction for Face Recognition Based on Geometrical Approach," in Electrical and Computer Engineering, 2006.
CCECE '06. Canadian Conference on, 2006, pp. 1936-1939.
[3] ปฏิวัติ อิงคสันตติกุล. (2549). การพัฒนาระบบรู้จำใบหน้าบุคคล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[4] กฤติกา ศรีพงศ์สุข ณัฏฐา ปัญญาพูนตระกูล และธนาวุฒิ โชติชนาภิบาล. (2553). การพัฒนาระบบรู้จำใบหน้าบุคคล. (โครงงานปริญญาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[5] A. S. Tolba, A. H. El-Baz, and A. A. El-Harby. (2005). Face recognition: a literature review. International Journal of Signal Processing, 2(2), 88-103.