การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ส่งเสริมการยอมรับเทคโนโลยีตามแบบจำลอง TAM เพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

จักรี ทำมาน
มานิตย์ อาษานอก

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัยและบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ และ 2) ศึกษาผลการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้ระบบที่มีต่อระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) กลุ่มที่ใช้ศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือนักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ระดับชำนาญการขึ้นไป ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 9 คน และ 2) กลุ่มที่ทดลองใช้ศึกษาผลการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานระบบ ได้แก่ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และศิษย์เก่าที่สังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของ ระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ และ 2) แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบ สารสนเทศเพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ด้านเนื้อหา โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านระบบสารสนเทศ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ด้านโปรแกรม โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านคู่มือการใช้งานระบบโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ศิษย์เก่า และนักศึกษาที่ใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีการยอมรับเทคโนโลยีและนำไปใช้ตามทฤษฎี การยอมรับเทคโนโลยีตามแบบจำลองแทม (TAM) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วรปภา อารีราษฎร์. คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2559, 1 สิงหาคม). สัมภาษณ์.
[2] รัชนี ศรีทาเกิด. (2552). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อสร้างการยอมรับนวัตกรรมยุติธรรมชุมชนของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
[3] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2536). การศึกษาทางไกลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสาร การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (น. 202-225). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[4] สุชาดา สุขนิรันดร์. (2550). การยอมรับนวัตกรรมการใช้ระบบบริหารทรัพยากรองค์กรกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ พนักงานการไฟฟ้าส่วนถูมิภาค เขต 1 (ภาคใต้) จังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, เพชรบุรี.
[5] Rogers, Everett M. and Shoemaker, F Floyd. (1971). Communication of Innovations: A Cross-Cultural Approach. New York: The Free Press.
[6] จักรี ทำมาน, และมานิตย์ อาษานอก. (2561). ผลการศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 122-132.
[7] ศรีวิไล นิราราช. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[8] วีระพน ภานุรักษ์, ธรัช อารีราษฎร์, สุขแสง คูกนก และสายชล จินโจ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเผยแพร่แหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(ฉบับพิเศษ เดือนกันยายน), 800-813.
[9] ภัทรพงษ์ อักษร, ธรัช อารีราษฎร์ และเผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2559). การศึกษาองค์ประกอบเว็บไซต์ต้นแบบสำหรับหน่วยงานและบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[10] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.