การยอมรับเทคโนโลยีของเว็บไซต์พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า กรณีศึกษา เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มน้ำพริกเผาผลไม้ตามฤดูกาล บ้านเวียงสวรรค์ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

piraprob junsantor

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของเว็บไซต์พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า กรณีศึกษา เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มน้ำพริกเผาผลไม้ตามฤดูกาล บ้านเวียงสวรรค์ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง


ผลการวิจัยพบว่าระดับความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เท่ากับ 4.18 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการรับรู้ถึงประโยชน์มีความคิดเห็นต่อเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้บริการสั่งซื้อสินค้าได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านความง่ายในการใช้งานมีความคิดเห็นต่อเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนการใช้งานไม่ซับซ้อน ไม่เสียเวลาในการเรียนรู้มากเกินไป มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ระดับความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค เท่ากับ 4.12 อยู่ในระดับมากและพบว่าการสนับสนุนส่งเสริมการขายโดยให้คูปองหรือส่วนลดราคาสินค้าออนไลน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด การยอมรับเทคโนโลยีของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าได้แก่ เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำให้รับทราบข้อมูลประชาสัมพันธ์ที่เป็นปัจจุบัน เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีส่วนช่วยเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่ท่านสนใจและเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีการจัดวางองค์ประกอบของหน้าจอที่เหมาะสมทำให้เข้าใจได้ง่าย สัมพันธ์แบบพหุคูณกับการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พหุคูณเป็น 0.432 สามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคได้ร้อยละ 42.8

Article Details

How to Cite
junsantor, piraprob. (2020). การยอมรับเทคโนโลยีของเว็บไซต์พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า กรณีศึกษา เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มน้ำพริกเผาผลไม้ตามฤดูกาล บ้านเวียงสวรรค์ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 6(2), 82–94. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/241505
บท
บทความวิจัย

References

[1] Davis, F.D. and Venkatesh, V. (1996). A critical assessment of potential measurement biases in the technology acceptance model: three experiments. International Journal of Human-Computer Studies, 45, pp.19-45
[2] สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2561 (ฉบับปรับปรุง) Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018.กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
[3] Davis, F.D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319‐339.
[4] กรณษา แสนละเอียด พีรภาว์ ทวีสุขและศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการใช้บริการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 3-15.
[5] มัสลิน ใจคุณและรุจิภาส โพธิ์ทองแสงอรุณ. (2562). การยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจ และการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ (Facebook LIVE) ของกลุ่มผู้บริโภค GENERATIONS X, Y, Z . วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 260-275.
[6] Fishbein, M. ,& Ajzen, I. (1975). Beliefs, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to Theory and Research Reading. MA: Addison-Wesley.
[7] มนตรี พิริยะกุล ระพีพรรณ พิริยะกุล อรไท ชั้วเจริญ มานัส บุญยัง ประทานพร พิริกุล และอินทกะ พิริยะกุล. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตซ้ำ. วารสารลานนาวิชาการ, 1(1), 1-21.
[8] สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. KMITL Information Technology Journal, 1(1). สืบค้น 13 เมษายน 2563, จาก http://journal.it.kmitl.ac.th.
[9] Davis, F. D., Bagozzi, R., & Warshaw, P. (1989). User acceptance of computer technology A comparision of two theoretical models. Management Science. 35(8), 982-1003.
[10] วันทนีย์ มงคลทรัพย์กุล อัญณิฐา ดิษฐานนท์ อรพรรณ คงมาลัย และจันทร์จิรา นพคุณธรรมชาติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ :กรณีศึกษาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 39(1), 3-9.
[11] Richard, M.O., & Habibi, M.R. (2016). Advance modeling of consumer behavior: The moderating roles of hedonism and culture. Journal of Business Research, 69, 1103–1119.
[12] กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2554). มาตรฐานการพัฒนาผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. นนทบุรี: สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.
[13] มานิต รัตนสุวรรณและสมฤดี ศรีจรรยา. (2553). ยุทธศาสตร์การตลาด. กรุงเทพฯ: สุขขุมวิทการพิมพ์.
[14] Chen, J.V., Rungruengsamrit, D., Rajkuma, T., & Yen. D.C. (2013). Success of electronic commerce Web sites: A comparative study in two countries. Information & Management, 50, 344–355.
[15] ปีเตอร์ รักธรรมและลัดดาวัลย์ แก้วกิติพงษ. (2558). การศึกษาปัจจัยเเละกลยุทธ์ที่สร้างแรงจูงใจ ในการใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, (16), 26-59.
[16] ธนพงศ์ กำเหนิดชูตระกูล และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). ปัจจัยการบอกต่อ การจัดอันดับและการวิจารณ์สินค้า คุณภาพของข้อมูลและการบริการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของ ผู้ประกอบการขายเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านทางสังคมออนไลน์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (S-commerce) ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการ เอเชียอาคเนย์ 2559 ครั้งที่ 3 (น.1357-1366). นนทบุรี: โรงแรมริชมอนด์ สไตลิส คอนเวนชั่น.
[17] ธนภรณ์ แสงโชติและอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยี MyMo Mobile Banking บริบท ธนาคารออมสิน FinTech Adoption of MyMo Mobile Banking in Government Saving Bank. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(3), 47-64.
[18] วรรณิกา จิตตินรากร. (2561). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากบริษัทขายตรงผ่านช่องทางออนไลน์ (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.