การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม

Main Article Content

จุฬาวลี มณีเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และ 3) ศึกษาการยอมรับที่มีต่อระบบ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน จำนวน 5 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน จำนวน 30 คน และผู้ใช้ประเมินการยอมรับระบบของแอปพลิเคชัน จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย โดยพัฒนาระบบเป็นแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ด้วยโปรแกรม Android Studio และโปรแกรม Unity โปรแกรม Vuforia และใช้โปรแกรม Adobe Flash เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง แบบประเมินประสิทธิภาพ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบวัดการยอมรับระบบตามแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี TAM สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้แอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ประกอบด้วยข้อมูลการทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงสำหรับผู้สูงอายุจำนวน 12 ท่า นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ วิดีโอ และภาพนิ่ง แอปพลิเคชันที่พัฒนาได้ผ่านการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากก่อนนำไปใช้งาน 2) ความพึงพอใจโดยผู้ใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 และ 3) ผู้ใช้ระบบยอมรับระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 แอปพลิเคชันสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุได้

Article Details

How to Cite
มณีเลิศ จ. (2021). การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 7(2), 84–95. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/245020
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข.

พิศมัย บุติมาลย์, แสงอรุณ อิสระมาลัย และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่บ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38, 79-91.

ฟิสิกส์ ฌอณ และเกษตร วงศ์อุปราช. (2017). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จากการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตชานเมือง เทศบาลเมือง จังหวัดลำปาง. Journal Of Community Development Research (Humanities And Social Sciences), 10(4), 108-120.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2563). การบริหารจัดการข้ามสื่อ:จากสื่อมวลชนไปสู่สื่อออนไลน์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 10(2), 1-23.

Grubert, J., & Grasset, R. (2013). Augmented Reality for Android Application Development. Birmingham, U.K.: Packt Pub.

สิรินทร ฉันศิริกาญจน, ศิริพันธุ์ สาสัตย์, สันติ ลาภเบญจกุล, อัญญพร สุทัศน์วรวุฒิ, ศุภลักษณ์ เข็มทอง และสมคิด เพื่อนรัมย์. (2559). คู่มือการดูแลระยะยาวสำหรับทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์ กรุ๊ป จำกัด.

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2560). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมส่งเสริมความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 7-16.

ธวัชชัย สหพงษ์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันความจริงเสมือน “สะดืออีสาน” อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11, 139-151.

ยอดเพชร ทองขาว. (2563). การพัฒนาสื่อความเป็นจริงเสริมเชิงความหมายบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อการดูแลโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง, 13(1), 35-47.

Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982–1003.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. In Archives of Psychology 140: (pp. 1–55).

สุบิน ไชยยะ. (2560). การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในห้องสมุดประชาชน. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 134-148.

สมชาย เมืองมูล และจารุวรรณ สายคำฟู. (2563). การพัฒนาหนังสือเล่มเล็กโดยใช้ความเป็นจริงเสริม. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(3), 71-77.

ดวงจันทร์ สีหาราช, ยุภา คำตะพล, ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์ และศรัญญา ตรีทศ. (2563). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12, 135-148.

วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์, และพลวัฒน์ อัฐนาค. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรม การประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(1), 7-15.