การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียสำหรับการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา ด้วยแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียสำหรับการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษาที่ได้ศึกษาแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียสำหรับประชาสัมพันธ์ทางการศึกษาด้วยแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และ 3) ประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียสำหรับการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 16 คน จาก 8 หลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อาจารย์แนะแนว 7 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 364 คน ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 7 โรงเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินการปฏิบัติ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาของค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยประยุกต์การวัดคะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนน 5 ระดับแบบมาตราวัดของลิเคิร์ท
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียสอดคล้องตามความต้องการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และความคาดหวังของสื่อมัลติมีเดีย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.50) 2) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียหลังการชมสื่อโดยอาจารย์แนะแนวและนักเรียน พบว่า การเข้าใจเนื้อหาของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21, S.D. = 0.67) และ 3) ประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย ช่วยให้ผู้ชมสื่อมัลติมีเดียมีความเข้าใจเนื้อหาหลักสูตรที่ต้องการประชาสัมพันธ์การศึกษา โดยผลการประเมินสื่อมัลติมีเดียสำหรับการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมาก ( = 4.33,S.D.=0.58)
Article Details
References
Abras, C., Maloney-Krichmar, D., Preece, J. (2004). User-Centered Design. In Bainbridge, W.Encyclopedia of Human-Computer Interaction. Thousand Oaks: Sage Publications, 1-14.
Alistair Sutcliffe, Sri Kurniawan and Jae-Eun Shin. (2006). A Method and Advisor Tool for Multimedia User. Centre for HCI Design School of Informatics, University of Manchester.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982–1003.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin, Ed. NewYork: Wiley & Son, 90-95.
Maria Camacho. (2018). An Integrative Model of Design Thinking. 21st DMI: Academic Design Management Conference Next Wave London, UK.627-641.
Michael Burmester. (2016). Design Thinking – new old creativity. Retrieved 14 January 2020, from https://www.uid.com/en/news/design-thinking-revolutionize-human-centred-design.
Wen-Tao Li, Ming-Chyuan Ho and Chun Yang. (2019). A Design Thinking-Based Study of the Prospect of the Sustainable Development of Traditional Handicrafts. Sustainability, 11(4823), 1-26.
Ze-Nian Li, Mark S. Drew and Jiangchuan Liu. (2021). Fundamentals of Multimedia. 3rd Edition Springer Nature Switzerland .Texts in Computer Science.
ก่อเกียรติ ขวัญสกุล. (2564). การบูรณาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อ โครงการชุมชนท่องเที่ยวโอท้อปนวัตวิถีบ้านวังยาว ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(1) ,164-184.
ธีทัต ตรีศิริโชติ. (2564). บทปริทัศน์หนังสือ (Book Review) The DESIGN of EVERYDAY THINGS เขียนโดย DONORMAN. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(1). 139-140.
ปฐมา อาแวและนิยาวาเฮร์ไพบูลย์. (2562). การตัดสินใจเลือกเขาศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาปีการศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2562. (รายงานผลการวิจัย). ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.
ปริญญา พันธ์ศรีและ รัตนโชติ เทียนมงคล. (2562). การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์แนะแนวศึกษาต่อหลักสูตรคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและเกม โดยใช้ทฤษฎีมนุษย์เป็นศูนย์กลางการออกแบบ. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 40(1), 75-89.
พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2560). การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2). 1330-1341.
รจเรข สายคำและวัฒนา พัดเกตุ.(2560). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. นเรศวร ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม, (น.1348-1358). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (2012). Adobe CS6 2012/54771[ซอฟต์แวร์]. Adobe. All rights