สื่อรณรงค์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุนิษา คิดใจเดียว
โสภี แก้วชะฎา
แสงจันทร์ เรืองอ่อน
ปฐมพงษ์ ฉับพลัน
วศิน เรืองนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อรณรงค์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อ และ 3) เผยแพร่สื่อรณรงค์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชผ่านยูทูป กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่เรียนรายวิชานครศรีธรรมราชศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ในภาคการศึกษาที่ 2/2563 โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อรณรงค์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช แบ่งเป็น 6 ตอน ได้แก่ การตั้งถิ่นฐาน สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์และสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ สมัยอาณาจักรศรีวิชัยและสมัยสิริธรรมนคร สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา และสมัยกรุงธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ และยุคมณฑลเทศาภิบาล ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านแอนิเมชัน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมาก (  = 4.22, S.D.=0.58) 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อที่เป็นนักศึกษาที่เรียนรายวิชานครศรีธรรมราชศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชอยู่ในระดับมาก             (  = 4.15, S.D.=0.43) และ 3) ผลเผยแพร่สื่อรณรงค์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชผ่านยูทูปในระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2564 มีผู้ใช้ความสนใจ จำนวน 168 วิว และยอดไลค์ 52 ครั้ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมได้

Article Details

How to Cite
คิดใจเดียว ส., แก้วชะฎา โ., เรืองอ่อน แ., ฉับพลัน ป., & เรืองนาค ว. (2021). สื่อรณรงค์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 7(2), 63–74. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/245433
บท
บทความวิจัย

References

ปฐม หงส์สุวรรณ. (2557). ดงภูดิน : เรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์กับปฏิบัติการสร้างความหมายว่าด้วยสิทธิชุมชน. Journal of Mekong Societies, 10(3), 167-192.

สุนทรชัย ชอบยศ. (2562). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนารากฐานท้องถิ่นที่เข้มแข็งและยั่งยืน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 17(2), 115-138.

วัณณสาส์น นุ่นสุข. (2556). ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการกำเนิดอาณาจักรนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(6), 219-263.

สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). ประวัติความเป็นมาจังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก http://www.Nakhonsi thammarat.go.th/history.php

สมรัก ปริยะวาที. (2560). สร้างสื่อบทเรียน Multimedia Online 2D Animation. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วรรณทิภา ธรรมโชติ. (2562). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 37-47.

กาญจนา ดงสงคราม และวรปภา อารีราษฎร์. (2561). การ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา ประวัติท้าวมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 127-139.

เจนจิรา โคตรสินธุ์ และนฤมล อินทิรักษ์. (2558). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง ลอยกระทง. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 1(1), 6-10.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper & Row, New York.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Nisachon, R. and Prasopchai, P. 2019. Response Rate in Quantitative Research. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, Bangkok, Thailand, 13(3), 181-188.

สุขสถิต มีสถิตย์ และปิยวรรณ โถปาสอน. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสมือนเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นกรณีศึกษา “ผ้าย้อมครามสกลนคร”, วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(2), 31-39.

อัจฉริยพงศ ์ จันทร์คลัง. (2562). การพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ กลอนลำอีสาน โดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรชัย พงศ์พิพัฒน์ภักดี และธงชัย ศรีวรรธนะ. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการรับชมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอเกมของผู้ชมภายในเว็บไซต์ยูทูบ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(3), 339-353.

อรุโณทัย พยัคฆงพงษ์. (2560). แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีในการแข่งขันทางการตลาด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25), 128-136.