การพัฒนาระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิต อ้อยคั้นน้ำ

Main Article Content

สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์
กาญจนา ดงสงคราม
ศศิธร อ่อนเหลา
กฤตภาส ยุทธอาจ
อุดมศักดิ์ พิมพ์พาศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเกษตรที่มีต่อระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ 2) แบบบันทึกการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การทดสอบประสิทธิภาพของระบบด้วยการตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ ดังต่อนี้ 1) ค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ และ 2) ค่าความชื้นในดิน  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ  พบว่า มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนรับค่า (2) ส่วนควบคุมและสั่งการ และ (3) ส่วนอุปกรณ์  ที่แสดงผลการทำงานของระบบผ่านระบบเครือข่ายไร้สายได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ตามความต้องการต้องการของกลุ่มเกษตรกรปลูกอ้อยคั้นน้ำ และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ พบว่า มีการแสดงผลได้ดังนี้ (1) ค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ สามารถวัดได้ตั้งแต่ 0 – 100 (˚C) ค่าความเหมาะสมกับอ้อยคั้นน้ำจะอยู่ช่วงระหว่าง 30 – 35 (˚C) และ (2) ค่าความชื้นในดิน สามารถวัดได้ตั้งแต่ 25 %RH – 95 %RH  และค่าความเหมาะสมกับอ้อยคั้นน้ำจะอยู่ในช่วง  40%RH และ ≥65%RH (3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ  โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ  = 4.40  และ S.D. = 0.55 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของเกษตรที่มีต่อระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ พบว่าเกษตรมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ราซิน กะมินสิน, 2557). iOS: ควบคุมการรดน้ำต้นไม้, ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

(นัทกมล ผินนอก. (2563). การพัฒนาระบบเซนเซอร์สำหรับตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อประยุกต์ใช้งานด้าน เกษตร แม่นยำด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัย นเรศวร

ทักษิณา ศันสยะวิชัย. (2558) รายงานชุดโครงการวิจัย การวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตอ้อย.

นายพุธ ทองลา (สัมภาษณ์, มิถุนายน 2564)

มูฮัมหมัดอาลาวี กะลูแป, ธนพงศ์ พันธุ์ทอง และลัญฉกร นิลทรัตน์. (2562). ระบบรดน้ำอัตโนมัติสำหรับผักบุ้งจีนในแปลงเกษตร โดยใช้ NodeMCU ESP8266. วารสารฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป, 3(1), 33-38.

ปิยวัตร มากศรี และคณะ. (2564). เทคโนโลยีการควบคุมระบบอัตโนมัติสำหรับการปลูกพืช. ใน การประชุมวิชาการเสนอ ผลงานวิจัย ระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4 วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 175-182.

กนิษฐา อินธิชิต, ณิชนันทน์ ห่วงทิม และ อาทิตยา พิมพรัตน์. (2564). การพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจในการปลูกพืชทางการเกษตร สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), 7-17.