การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บสำหรับคำนวณประเมินความสูงและเพศ จากขนาดรองเท้า รอยพิมพ์ฝ่าเท้าและระยะก้าวเดิน

Main Article Content

ทัศวรรณ ร่มวาปี
ทัศนวรรณ ศูนย์กลาง

บทคัดย่อ

ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ รอยรองเท้าและรอยฝ่าเท้าถือเป็นหลักฐานที่พบได้มากในสถานที่เกิดเหตุ หลักฐานเหล่านี้สามารถใช้คาดคะเนรูปพรรณ เช่น ความสูง หรือ เพศ ของเจ้าของลักษณะเหล่านี้ได้ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่สามารถคำนวณประเมินคาดคะเนความสูงและเพศ จากระยะก้าวเดิน ขนาดรองเท้า และรอยพิมพ์ฝ่าเท้า 2) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมคำนวณประเมิน
ความสูงและเพศ กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาระบบจำนวน 6 คน และเจ้าหน้าที่ตำรวจกองพิสูจน์หลักฐานจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 20 คน การประเมินผลใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานโปรแกรม ซึ่งแบบประเมินนี้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์ และ 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างตัวแบบสมการที่ได้ของงานวิจัยนี้กับงานวิจัยต้นแบบสำหรับคาดคะเนความสูง ตัวแบบที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ Simple Linear Regression, Multiple Linear Regression และ Polynomial Regression สำหรับคาดคะเนเพศตัวแบบที่ใช้ คือ Logistic Regression


ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมประยุกต์นี้สามารถคำนวณประเมินคาดคะเนความสูงและเพศได้ 2) ผล
การประเมินหาค่าความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์ของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่า
ความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ดี และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.35, S.D. = 0.60) และ 3) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพตัวแบบสมการโดยใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่อง พบว่าตัวแบบ Polynomial Regression คาดคะเนผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงกับข้อมูลจริง และผลการทำนายที่คลาดเคลื่อนใกล้เคียงงานวิจัยต้นแบบ สำหรับการคาดคะเนความสูงให้ผลทำนายดีที่สุดจากความยาวรองเท้าเพศหญิง และผลทำนายที่คลาดเคลื่อนมากที่สุดที่ทำนายจากขนาดรองเท้าเพศหญิงสำหรับการคาดคะเนเพศ พบว่าระบบมี
ความถูกต้องอยู่ที่ 94.40%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อรทัย เขียวพุ่ม. (2563). การประมาณความสูงและเพศของบุคคลจากระยะก้าวเดินและขนาดรองเท้าเพื่อการสืบสวนทาง

อาชญากรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์และงานยุติธรรม). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรารัตน์ ก่อเกิด. (2554). การคาดคะเนความสูงและเพศของบุคคลจากรอยพิมพ์ฝ่าเท้าในกลุ่มประชากรไทย กรณีศึกษาจังหวัด

อุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอ็ม.ดี. ซอฟต์ จำกัด. (ม.ป.ป.). ความแตกต่างระหว่างเว็บไซต์ (Website) กับเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application).

สืบค้นจาก https://mdsoft.co.th/ความรู้/290-website-with-web-application.html

อรพิน ประวัติบริสุทธิ์. (2564). Python สำหรับงาน Data Science Data Visualization และ Machine Learning. กรุงเทพฯ:

โปรวิชั่น.

ปวีณ์กร คลังข้อง. (2556). วัฒนธรรมวิจัยของครูในจังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

การบริหารการศึกษา). ปัตตานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และ ธีรชาติ ธรรมวงค์. (2558). การหาความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC).

สำค้นจาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329

Jiang Kuan. (2018). Regression analysis estimation of stature from foot length. Cognitive Systems Research, 52,

–260.

กอบเกียรติ สระอุบล. (2563). เรียนรู้ Data Science และ AI: Machine Learning ด้วย Python. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ธีรสมร หนูมา, ณรงค์ สังวาระนที และณรงค์ กุลนิเทศ. (2562). ความสำคัญของการตรวจรอยเท้าในสถานที่เกิดเหตุ. การประชุม

วิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018, 1(2), 245-251.

อรพิน ประวัติบริสุทธิ์. (2564). Python สำหรับงาน Data Science Data Visualization และ Machine Learning. กรุงเทพฯ:

พิมพ์ดี.

นิคม ถนอมเสียง. (ม.ป.ป.). สมการถดถอยอย่างง่าย Simple Linear Regression. สืบค้นจาก

https://home.kku.ac.th/nikom/regsimp_nk2559.pdf

Won Joon Kim, Yong Min Kim, Myung Hwan Yun. (2018). Estimation of stature from hand and foot dimensions

in a Korean population. Journal of Forensic and Legal Medicine, 55, 87-92.

ปารณัท วิทยรุ่งโรจน์, สุนีย์ บวรสุนทรชัย และณรงค์ สังวาระนที. (2562). ความสัมพันธ์ของความสูงจากระยะก้าวขณะเดิน

สำหรับการจำแนกบุคคลโดยใช้โปรแกรมวินเอฟดีเอ็ม. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อย ตำรวจ, 5(2), 168-179.