การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสมือน 360 องศา ส่งเสริมการท่องเที่ยวรอบกว๊านพะเยา

Main Article Content

เกวรินทร์ จันทร์ดำ
สิทธิเดช วชิราศรีศิริกุล
จารุกัญญ์ จิตรวงศ์นันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบเว็บแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสมือน 360 องศา แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์รอบกว๊านพะเยา 2) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแนะนำการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์นำทัวร์ความเป็นจริงเสมือน 360 องศา 3) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบ 4) ประเมิน
ความพึงพอใจการใช้งานระบบ โดยการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสมือน 360 องศา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประเมินในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ใช้วิธีเลือกการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มประเมินประสิทธิภาพการทำงานระบบซึ่งเป็นนิสิตสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและสาขาธุรกิจดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นผู้เข้าใช้งานจริงทดสอบระบบ จำนวน 56 คน 2) ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง กลุ่มประเมินความพึงพอใจระบบซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเที่ยวกว๊านพะเยา จำนวน 100 คน  ผู้วิจัยใช้โปแกรม 3D Vista เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบ ใช้โดรนถ่ายภาพมุมสูงทางอากาศยาน และใช้เครื่องมือด้านการสร้างสื่อมัลติมิเดีย และแบบประเมินผลความพึงพอใจของระบบ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการประเมินพบว่า ด้านประสิทธิภาพการทำงานระบบเว็บแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสมือน 360 องศา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวรอบกว๊านพะเยา ในแต่ละด้านพบว่า 1) ข้อมูลเนื้อหาบนเว็บไซต์การให้ความรู้ได้อย่างครบถ้วน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 2) คุณภาพของเสียงประกอบมีความชัดเจน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 3) สื่อเสมือนจริง 360 องศา มีความน่าสนใจส่งผลให้มีความตั้งใจมาเที่ยวจังหวัดพะเยา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04  4) สื่อความเป็นจริงเสมือน 360 องศา มีภาพความสมบูรณ์และชัดเจน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 และ 5) รูปแบบตัวอักษรขนาด และสีตัวอักษรมีความชัดเจนอ่านง่าย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00  และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ ในแต่ละด้านพบว่า
1) เมนูฟังก์ชันการทำงานหน้าเว็บแอปพลิเคชันมีการใช้งานง่าย อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 2) การวางตำแหน่งรูปภาพ 360 องศา แผนที่บนเว็บแอปพลิเคชันมีความเหมาะสมเข้าใจง่าย อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และ 3) การรับรู้ประโยชน์ของเว็บแอปพลิเคชันเหมือนกับว่าได้สัมผัสถึงการเดินทางมาท่องเที่ยวรอบกว๊านพะเยาด้วยตนเอง อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วรัญญา ไชยทารินทร์ และอริยา เผ่าเครื่อง. (2560). ศักยภาพและความพร้อมบริการทางการท่องเที่ยวกว๊านพะเยา จังหวัด

พะเยา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(5), 390-403.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2565 (Domestic Tourism Statistics (Classify by region and province 2022)). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/category/657

Virakul, B., Chiangmai, C. N., & Senasu, K. (2022). Thailand and COVID-19 pandemic: Lessons learned, challenges, and the silver linings. In Community, Economy and COVID-19 (pp. 505-530). Springer.

Bec, A., Moyle, B., Schaffer, V., & Timms, K. (2021, 2021/04/01/). Virtual reality and mixed reality for second chance tourism. Tourism Management, 83, 104256.

Pirker, J., & Dengel, A. (2021). The Potential of 360° Virtual Reality Videos and Real VR for Education—A Literature Review. IEEE computer graphics and applications, 41(4), 76-89.

Lohmann, G., & Netto, A. P. (2016). Tourism theory: Concepts, models and systems. Retrieved from https://www.cabidigitallibrary.org/doi/book/10.1079/9781780647159.0000

พิมพชนก สุวรรณศรี, ไพรสันต สุวรรณศรี, และสุรดิษ จันทรสวาง. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันนําเสนอแหลงทองเที่ยวแบบ เสมือนดวยภาพพาโนรามาในกําแพงเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13, 172-185.

อาลาวีย์ ฮะซานี และณัฐพงษ์ หมันหลี. (2564). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลาด้วย เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 4(11), 7-19.

จุฬาวลี มณีเลิศ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(2), 85-95.

พิมพา คงขาว และลัทธกาญจน์ กุยแก้ว. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงในการนำชมแหล่งท่องเที่ยว ปราสาทสระกำแพงใหญ่อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 35(4), 116-131.

ปณิธิ แก้วสวัสดิ์. (2565). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรีด้วยเทคโนโลยีความเป็น

จริง เสริม. วารสารวิชาการ DEC Journal, 1(1), 50-75.

Likert, R. (2017). The method of constructing an attitude scale. In Scaling. (pp. 233-242). Routledge.

Marangunić, N., & Granić, A. (2015). Technology acceptance model: a literature review from 1986 to 2013. Universal access in the information society, 14(1), 81-95.

Ruparelia, N. B. (2010). Software development lifecycle models. ACM SIGSOFT Software Engineering Notes, 35(3), 8-13.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 29). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.