นวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวระบบเช่าจักรยานอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด

Main Article Content

วีระพน ภานุรักษ์
วินัย โกหลำ
ภาสกร ธนศิระธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความต้องการชุมชนในการใช้นวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวระบบเช่าจักรยานอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด 3) เพื่อประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการท่องเที่ยว และ 4) เพื่อหาความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตชุมชนตำบลแก่งเลิงจาน  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 99 คน กำหนดจำนวนด้วย ตารางทาโร่ยามาเน่ ที่ค่าผิดพลาด ± 5 กระบวนการในการพัฒนาระบบใช้ SDLC 5 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการ นวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวระบบเช่าจักรยานอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด แบบประเมินคุณภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย   และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. ค่าความสอดคล้อง IOC


            ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลการสำรวจความต้องการของชุมชน พบว่ามีความต้องการใช้นวัตกรรมส่งเสริม
การท่องเที่ยวระบบเช่าจักรยานอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
(gif.latex?\bar{x} = 4.96, S.D. = 0.58) 2) ผลการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวระบบเช่าจักรยานอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดประกอบด้วย 9 ระบบย่อย ได้แก่ ระบบสมัครสมาชิก ระบบจัดการสมาชิก ระบบเช่ารถจักรยาน ระบบจัดการการเช่ารถจักรยาน ระบบจัดการรถจักรยาน ระบบชำระเงิน ระบบคืนรถจักรยาน ระบบแจ้งเตือน และ ระบบรายงาน แบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ดูแลการเช่าจักรยาน และผู้ใช้งานทั่วไป 3) ผลการประเมินคุณภาพของนวัตกรรม พบว่าโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.40, S.D = 0.58)  4) ผล
การสอบถามความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อนวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว พบว่า มีผลความพึงพอใจโดยรวมทุกข้ออยู่ในระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.71, S.D. = 0.51)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร โตคูเวียง และสะโรชินีย รื่นเริง. (2561). ระบบเช่ารถจักรยาน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

กฤษฎา จินดานวกุล และปัญจราศี ปุณณชัยยะ. (2015). ระบบบริหารจัดการรถเช่าบริษัท Pagoda Leasing (No. 92512). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนาคารไทยพาณิชย์. (2560). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ QR Code. สืบค้นจาก http://www.scb.co.th/easypay/#faq

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560 ก). ข่าว ธปท. ฉบับที่ 59/2560 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารที่เข้าทดสอบโครงการ

QR code Payment ใน regulatory sandbox ให้บริการได้เป็นการทั่วไป. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/ News2560/n5960t.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรสวรรค์ จันทะคัด. (2552). การพัฒนาระบบสารสนเทศศิษย์เก่าบนอินเทอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

อดิเรก อุ่นเจริญ และพลเดช เชาวรัตน์. (2558). ระบบจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : อำเภอคําม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

Bicycle System for Tourism, Case Study of Kham Muang District, Kalasin Province. การประชุมวิชาการและ

เสนอผลงานวิจัยระดับชาติ, 234–241.

Park, A., & Suttijaree, J. (2017). การเมืองในการส่งเสริมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษารถเช่าในจังหวัด เชียงใหม่.

Political Science and Public Administration Journal, 8(2), 81-101.

Stair, R.N. (1996). Principle of Information System A Managerial Approach. (2nd ed.). Massachusetts : Boys –

Fraser.