ผลการทดลองใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับนักศึกษา บกพร่องทางการได้ยินเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R The Results of the Trial of the Digital Technology Application Activity Guide for Hearing Impaired Students to Prepare for Learning Using the SQ4R Technique

Main Article Content

สุธิรา จันทร์ปุ่ม
ธวัชชัย สหพงษ์
ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R 2) ประเมินความเหมาะสมของผลการพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R และ 3) ทดลองใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับ นักศึกษา บกพร่องทางการได้ยินเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้คู่มือเป็นนักศึกษา จำนวน 15 คน และผู้เชี่ยวชาญประเมินคู่มือ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมของคู่มือการจัดกิจกรรม แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ และ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการจัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค SQ4R สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบด้วยคู่มือสำหรับอาจารย์ และคู่มือสำหรับนักศึกษา 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคู่มือการจัดกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการทดลองใช้คู่มือการจัดกิจกรรม พบว่า (1) กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (2) ประสิทธิภาพของคู่มือกิจกรรมส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร้อยละ 79.17/86.00 และ (3) ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อเครื่องมือกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คู่มือการคัดแยกและส่งต่อคนพิการเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

คณะอนุกรรมการคัดเลือกและจำแนกความพิการเพื่อการศึกษา. (2543). คูมือการคัดแยกและสงตอคนพิการเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพคุรุสภาลาดพร้าว.

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). การวิจัยเชิงเอกสารเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแนวคิดการจัดการสมรรถนะการประกอบอาชีพของคนพิการ : บริบทของสถานการณ์ กระบวนทัศน์และแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับสมรรถนะของมนุษย์ทุกคน. วารสาร Veridian E-Journal, 11(3), 2162-2192.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2561). ระเบียบมหาวิทยาลับราชภัฏสกลนคร ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสาหรับนักศึกษาพิการเรียนร่วม พ.ศ.2565. สืบค้น 10 ตุลาคม 2565, จาก https://council.snru.ac.th/wp-content/uploads/sites/17/2020/06/ระเบียบ-ว่าด้วย-การจัดการศึกษาพิเศษ-พ.ศ.-2565.pdf

ศรียา นิยมธรรม. (2541). ความบกพร่องทางการได้ยิน ผลกระทบทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พีเออาร์ตแอนพริตติ้ง.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. (2556, มีนาคม 29). ราชกิจจานุเบกษา, 130(30ก), 1-19

สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย. (2538). สภาพปัญหาของคนหูหนวก. กรุงเทพฯ: สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย.

Wong, L. (2011). Essential study skills (7th ed.). Retrieved April 24, 2013, from Cengage Learning http://books.google.co.th/books? id=iIfiYGX_nocC&print.

Coon, D. & Mitterer, J.O. (2010). Psychology: A Journey. Retrieved AprIl 24, 2013, from https://books.google.co.th/books/about/Psychology_A_Journey.html?id=Ql2WsA_VAuIC&redir_esc=y

มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2561). คนหูหนวก : ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและระบบวิธีสอน. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2565, จากwww.deafthai.org/wp-content/.../05/คนหูหนวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา.pdf

Williams, B. B. & Mennuti, B. R. (2014). Pass: prepare, assist, survive, and succeed : A guide to passing the praxis exam in school psychology, (18). Retrieved April 19, 2014, from http://books.google.co.th/books?id=m_6GW11qjS4C&pg.

สุธิรา จันทร์ปุ่ม, ธวัชชัย สหพงษ์ และธรัช อารีราษฎร์. (2566). การเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R. วารสารการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 14(3), 25-37.

สุคนธ์ สินธพานนท์, ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, จินตนา วีรเกียรติสุนทร, และพิวัสสา นภารัตน์. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9199 เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.

กาญจนา ดงสงคราม, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ AOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พนิตนาฏ ชูฤกษ์. (2551). อ่านเร็วให้เป็นจับประเด็นให้อยู่หมัด. กรุงเทพฯ : เฟิสท์ออฟเซท (1993).

กรภัทร คำโส, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2564). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินเมือง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.