การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตรวจสอบชิ้นส่วนรถยนต์ก่อนการผลิต กรณีศึกษา ตัวถังรถยนต์

ผู้แต่ง

  • ชิตษณุ ภักดีวานิช คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม
  • สุชาขนิษฐ์ ทองพรหม

คำสำคัญ:

การปรับปรุงกระบวนการ, แผนภาพสปาเก๊ตตี้ชาร์ท, โปรแกรม Sketch up

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตรวจสอบชิ้นส่วนรถยนต์ กรณีศึกษา โครงรถยนต์ แผนภาพสปาเก๊ตตี้ชาร์ทถูกนำมาใช้ในการนำเสนอเส้นทางการเคลื่อนที่ของพนักงานตรวจสอบ แผนภูมิก้างปลาแสดงเหตุและผลของการทำงานที่ใช้ระยะทางมากเกินความจำเป็น จากการวิเคราะห์กระบวนการตรวจสอบชิ้นส่วนรถยนต์ก่อนการปรับปรุง พบว่า พนักงานเดินตรวจสอบรอบโครงรถยนต์เป็นระยะทางทั้งสิ้น 87 เมตร และใช้เวลา 21.80 นาที อุปกรณ์การทำงานบางอย่างอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ผู้วิจัยจึงนำโปรแกรมสเก๊ตอัพ (SketchUp) มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบกล่องจัดเก็บอุปกรณ์การทำงาน และจัดตำแหน่งการวางอุปกรณ์ให้ใกล้กับพื้นที่ใช้งาน เพื่อลดระยะการเดินของพนักงาน ตัวล็อคโครงรถยนต์ถูกเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานเดินตรวจสอบรอบโครงรถยนต์เป็นระยะทางทั้งสิ้น 38.50 เมตร หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 55.75 มีการใช้เวลา 21.30 นาที หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 2.29 และปริมาณพนักงานลดลงร้อยละ 33.33

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-15

How to Cite

[1]
ภักดีวานิช ช. และ ทองพรหม ส., “การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตรวจสอบชิ้นส่วนรถยนต์ก่อนการผลิต กรณีศึกษา ตัวถังรถยนต์”, PSRU JITE, ปี 2, ฉบับที่ 2, น. 37–51, ก.ย. 2020.