การศึกษาสมรรถนะของบุคลากรในสถานประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกส์
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, การพัฒนาบุคลากร, อุตสาหกรรมเซรามิกส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะหลัก และ สมรรถนะตามตำแหน่งงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสมรรถนะหลัก และ สมรรถนะตามตำแหน่งงานของบุคลากรที่มีอยู่กับความคาดหวังของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมตามสมรรถนะของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเซรามิกส์ จำนวน 10 คน และผู้ประกอบการเซรามิกส์ จำนวน 30 คน และบุคลากร จำนวน 50 คน รวม 80 คนโดยใช้วิธีแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่นำมาใช้ ได้แก่ เทคนิคการประชุมระดมสมองแบบสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์สมรรถนะเป็นแบบทดสอบ โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับสมรรถนะหลักของบุคลากรที่อยู่ในระดับสูงเป็นอันดับแรก คือ สมรรถนะด้านความอดทน สู้งาน ขยันหมั่นเพียร มีค่า ( = 3.84) ส่วนสมรรถนะตามตำแหน่งงานของบุคลากรที่อยู่ในระดับสูง เป็นอันดับแรก คือ สมรรถนะด้านกระบวนการผลิต ได้แก่ทักษะการทำพิมพ์ ทักษะการปั้นและงานหัตถกรรม ทักษะการวาด ทักษะการตกแต่ง และ ทักษะการขึ้นรูป มีค่า ( = 3.42)
- ความแตกต่างระหว่างสมรรถนะหลัก และ สมรรถนะตามตำแหน่งงานของบุคลากรที่มีอยู่กับความคาดหวังของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ พบว่า สมรรถนะหลักที่ต่ำกว่าความคาดหวัง มากที่สุด คือ ความชำนาญ มีประสบการณ์ทำงาน ทำงานได้จริง (-1.09) และสมรรถนะตามตำแหน่งงานที่ต่ำกว่าความคาดหวังมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการผลิต: มีทักษะการทำพิมพ์ ทักษะการปั้นและงานหัตถกรรม ทักษะการวาด ทักษะการตกแต่ง และ ทักษะการขึ้นรูป (-1.15)
- แนวทางการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมตามสมรรถนะของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ได้แก่ 1) พัฒนาความชำนาญ ประสบการณ์ทำงาน การแก้ไขปัญหา 2) เสริมสร้างความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ 3) พัฒนาทักษะด้านกระบวนการผลิต 4) พัฒนาความรู้ด้านบริหารจัดการ 5) พัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การพัฒนาเนื้อดิน สี และน้ำเคลือบ