การศึกษาความสัมพันธ์ของระยะเวลาในการเก็บรักษาเลือดกับค่าผลบวกลวง ของสังกะสีในพลาสมา

ผู้แต่ง

  • ธารทิพย์ ธวัชวะชุม
  • ธีรวุฒิ แสวงบุญ
  • อัครกิตติ์ ไชยธนกุลวัฒน์
  • ณัฐที ถึงสุข
  • ทวีศักดิ์ ตันอร่าม Pibulsongkram Rajabhat University

คำสำคัญ:

ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ, ผลบวกลวง, สังกะสีในพลาสมา Atomic Absorption Spectroscopy (AAS)

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษาเลือด เพื่อรอการตรวจวิเคราะห์โดยไม่ให้ผลที่ได้เกิดค่าบวกลวง (False-positive) เทคนิคที่ใช้ตรวจวัดธาตุสังกะสีในพลาสมาคือ Atomic Absorption Spectroscopy (AAS) เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ธาตุโลหะหนักในระดับปริมาณต่ำๆได้จากผลการวิจัยพบว่าที่ระยะการเก็บตัวอย่างพลาสมาที่เหมาะสมคือ 1-3 วันให้ผลการตรวจวิเคราะห์อยู่ในช่วงอ้างอิงดัชนีชี้วัดทางชีวภาพหรือ Biomarkers สําหรับการประเมินความเสี่ยงของการสัมผัสสังกะสีที่ 551-925 ug/L และยังไม่เกิดการแตกตัวของเม็ดเลือด ส่วนระยะการเก็บรักษาตัวอย่างที่ 5-7 วัน พบว่ามีการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงในระดับ Partial hemolysis มีค่าการตรวจวัดที่สูงขึ้นแต่ยังอยู่ในช่วงอ้างอิง ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าแนวโน้มของค่าการตรวจวัดสังกะสีในเลือดสูงขึ้นเมื่อเพิ่มระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างเลือด อีกทั้งยังส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดการแตกตัวมากขึ้น ส่งผลการตรวจวิเคราะห์สังกะสีในพลาสมามีค่าผลบวกลวงได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26

How to Cite

[1]
ธวัชวะชุม ธ. ., แสวงบุญ ธ. . ., ไชยธนกุลวัฒน์ อ., ถึงสุข ณ. . ., และ ตันอร่าม ท., “การศึกษาความสัมพันธ์ของระยะเวลาในการเก็บรักษาเลือดกับค่าผลบวกลวง ของสังกะสีในพลาสมา”, PSRU JITE, ปี 2, ฉบับที่ 3 (2020), น. 1–10, ต.ค. 2020.