แบบจำลองการเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าระหว่างเมืองสำหรับ ในเขตพื้นที่ชายแดน: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วชิระ วิจิตรพงษา คณะเทคโนโลยีอุตสหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

รถไฟทางคู่, จังหวัดเชียงราย, การเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้า, การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน

บทคัดย่อ

ปริมาณการขนส่งสินค้าโดยรวมของประเทศไทย ปัจจุบันมีค่าประมาณ 805 ล้านตันต่อปี โดยสัดส่วนการขนส่งสินค้าถึงร้อยละ 87.50 ใช้รูปแบบการขนส่งทางถนน ซึ่งมีต้นทุนการขนส่งสูงถึง 2.12 บาท/ตัน-กิโลเมตร ในขณะที่การขนส่งทางรางมีต้นทุนการขนส่งเพียง 0.95 บาท/ตัน-กิโลเมตร จึงทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross domestic product : GDP) ยังคงอยู่ในระดับสูง การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งทางรางบริเวณเมืองหลักภูมิภาคและจุดเชื่อมต่อระหว่างประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Modal shift and multimodal) จะสามารถช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และเพิ่มศักยภาพการค้าของประเทศ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาปัจจัยและพัฒนาแบบจำลองการเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าบริเวณพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยอาศัยข้อมูลแบบ Stated preference (SP) จากการสำรวจผู้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศภายในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 415 ตัวอย่าง ในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างรถบรรทุกและรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ เวลาการเดินทางในยานพาหนะ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และความตรงต่อเวลา โดยผลการวิเคราะห์แบบจำลอง พบว่า ผู้ประกอบธุรกิจการค้าภายในประเทศจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้รถไฟทางคู่ในสัดส่วนร้อยละ 21.17 ขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศในพื้นที่ชายแดนแม่สาย เชียงของ และเชียงแสน จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้รถไฟทางคู่ในสัดส่วนร้อยละ 22.60, 30.96 และ 34.19 ตามลำดับ

References

McFadden D., Conditional Logit Analysis of Qualitative Choice Behavior. In Frontiers in Econometrics. P. Zarembka, ed. Academic Press, New York ,1974.
Ben-Akiva, M., Lerman S., Discrete Choice Analysis: Theory and Application to Travel Demand, MIT Press, Cambridge, MA, 1985.
Ortuzar, J. and L, Willumsen., Modelling Transport, 2nd ed: J. Wiley and Sons, New York, 1990.
Domencich, T.A., and McFadden, D. (1975) Urban Travel Demand: A Behavioral Analysis. North Holland Publishing, Amsterdam.
Cullinane, K. and Toy, N. 2000, "Identifying influential attributes in freight route/mode choice decisions: a content analysis", Transportation Research Part E: Logistics and Transportation Review, vol. 36, no. 1, pp. 41-53.
Train, K., Discrete Choice Methods with Simulation: MIT Press, Cambridge, MA, 2003.
CUTR 2004, Analysis of Freight Movement Mode Choice Factors, The Center for Urban Transportation Research, University of South Florida, Award # B-D238, Report for Florida Department of Transportation Rail Planning and Safety.
Hensher, D.A.,Rose, J.M., and Greene, W.H., Applied Choice Analysis: Cambridge University Press, 2005.
Simon P. Washington, Matthew G. Kalaftis and Fred L. Mannering, Statistical and Econometric Methods for Transportation Data Analysis Second Edition: CRC
[World Economic Forum, 2015] World Economic Forum, The Global Competitiveness Report, 2015.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-01

How to Cite

[1]
วิจิตรพงษา ว. ., “แบบจำลองการเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าระหว่างเมืองสำหรับ ในเขตพื้นที่ชายแดน: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย”, PSRU JITE, ปี 2, ฉบับที่ 3 (2020), น. 28–43, ธ.ค. 2020.