การลดต้นทุนพลังงานในกระบวนการคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่นด้วยระบบไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ วงศ์วุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ดวงกมล อังอำนวยศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีโอทูบับเบิ้ล, พลังงานทดแทน, สาหร่ายพวงองุ่น, ไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีโอทูบับเบิ้ลของระบบการเติมอากาศหมุนเวียนออกซิเจนในน้ำ ใช้เป็นแนวทางสำหรับการลดต้นทุนพลังงานในกระบวนการคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่น ทำการเปรียบเทียบต้นทุนพลังงานระหว่างระบบที่ไม่ใช้พลังงานทางเลือกกับระบบไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์ ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 จนถึงเดือนมกราคม 2566 ซึ่งภาระโหลดทางไฟฟ้า ที่ใช้ในกระบวนการคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่น จะมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1) ใช้กับโหลดขนาด 1.5 kW และ 2) ใช้กับโหลดขนาด 1.1 kW ซึ่งโหลดแต่ละส่วนจะใช้งานต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง และสลับกันทำงานวันเว้นวัน จากการทดสอบการวัดปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของระบบไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์ พบว่า เดือนสิงหาคม สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 278 kWh คิดเป็น 24.82% ของพลังงานที่ใช้, เดือนกันยายน สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 283 kWh  คิดเป็น 25.27% ของพลังงานที่ใช้, เดือนตุลาคม สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 276 kWh คิดเป็น 24.64% ของพลังงานที่ใช้, เดือนพฤศจิกายน สามารถผลิตพลังงาน ไฟฟ้าได้เท่ากับ 274 kWh คิดเป็น 32.62% ของพลังงานที่ใช้, เดือนธันวาคม สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้า  ได้เท่ากับ 305 kWh คิดเป็น 36.31% ของพลังงานที่ใช้ และเดือนมกราคม สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 293 kWh คิดเป็น 34.88% ของพลังงานที่ใช้ จากการเปรียบเทียบต้นทุนพลังงานไฟฟ้าของระบบการเติมอากาศในกระบวนการคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่น หลังการติดตั้งระบบไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์ กรณีใช้กับโหลดขนาด 1.5 kW พบว่า เกิดการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เฉลี่ยเท่ากับ 25.74% และกรณีใช้กับโหลดขนาด 1.1 kW พบว่า เกิดการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เฉลี่ยเท่ากับ 36.11%

References

กัลยา ธนาสินธ์, อมรรัตน์ คำบุญ, ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ, และสายัณ พุทธลา. (2565). กังหันน้ำเติมออกซิเจนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับบ่อน้ำ. วารสารวิชาการเทพสตรี I-TECH, 17(2), 95-105.

ชัยยงค์ เสริมผล, จิระเดช สังคะโห, และพลวัฒน์ ศรีโยหะ. (2563). การพัฒนากังหันน้ำเติมอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมผ่านสัญญาณไร้สาย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(2), 173-189.

ธวัชชัย ทองเหลี่ยม, วิโรจน์ บัวงาม, หฤทัย ดิ้นสกุล และบรรเจิด เจริญพันธ์. (2556, ธันวาคม). สร้างระบบขับกังหันน้ำชัยพัฒนาโดยใช้พลังงานแบบผสมผสานและการตรวจวัดออกซิเจนในน้ำ. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 36 (EECON-36), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธวัชชัย สอนสนาม, ประสิทธิ์ ภูสมมา, ประยุทธ นิสภกุล และชาลี อินทรชัย. (2022). เครื่องเติมอากาศในน้ำชนิดกังหันพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์. Journal of Science Engineering and Technology Rajabhat Maha Sarakham University, 1(3), 57-66.

พัชรินทร์ อินทมาส, อดิศร ไกรนรา, ทิฆัมพร เขมวงศ์ และพรหมพักตร์ บุญรักษา. (2022). การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องเติมอากาศในน้ำด้วยกังหันพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมผ่านโทรศัพท์มือถือ. Rattanakosin Journal of Science and Technology: RJST 2022, 4(1), 43-53.

มนทกานติ ท้ามติ้น. (ม.ป.ป.). การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นเชิงพาณิชย์. เอกสารนำเสนอในนิทรรศการ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี กรมประมง.

ภารดร ทองเสน และยอดชาย เตียเปิ้น. (2020). เครื่องเติมอากาศใบพัดพลังงานแสงอาทิตย์. Journal of Science and Technology, 3(1), 35-44.

ศิริวรรณ ทำนุ, ชวโรจน์ ใจสิน, ธงชัย มณีชูเกตุ และนรินทร์ ปิ่นแก้ว. (2561, เมษายน). การพัฒนาระบบควบคุมเครื่องเติมอากาศแบบอัตโนมัติในบ่อเลี้ยงปลานิล. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ครั้งที่ 19, ประจวบคีรีขันธ์.

อัครินทร์ อินทนิเวศน์, สุลักษณา มงคล, และสราวุธ พลวงษ์ศรี. (2019). การศึกษาสมรรถนะระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับระบบเติมอากาศของบ่อเลี้ยงปลา กรณีศึกษา: หมู่บ้านทุ่งยาว. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 26(3), 25-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14

How to Cite

[1]
วงศ์วุฒิ ก. และ อังอำนวยศิริ ด., “การลดต้นทุนพลังงานในกระบวนการคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่นด้วยระบบไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์”, PSRU JITE, ปี 6, ฉบับที่ 1, น. 56–71, มี.ค. 2024.