ผลของออกไซด์ให้สีและการจัดเรียงตัวของเนื้อดินต่อการเกิดลวดลายหินอ่อนของผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน

ผู้แต่ง

  • จุมพฏ พงศ์ศักดิ์ศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

หินอ่อน, เครื่องปั้นดินเผา, ออกไซด์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเกิดสี ความสว่างและค่าสีของเนื้อผลิตภัณฑ์ภายหลังการเผาจากออกไซด์ให้สีที่แตกต่างกัน 2) เพื่อศึกษาลวดลายหินอ่อนของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้รูปแบบการจัดวางเนื้อดินปั้นต่างกัน 3) เพื่อศึกษาลวดลายหินอ่อนของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนโดยใช้ระยะเวลาในการขึ้นรูปต่างกัน ดำเนินการวิจัยโดยกำหนดส่วนผสมแบบเจาะจง โดยใช้ดินสโตนแวร์ ผสมกับออกไซด์ให้สี ร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก ได้แก่ 1) โครมิกออกไซด์ 2) โคบอลท์ออกไซด์ และ 3) เฟอร์ริกออกไซด์ กำหนดรูปแบบการจัดวางเนื้อดินแบบเรียงเป็นชั้น และการวางเนื้อดินแบบม้วนเป็นวง กำหนดเวลาในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ทุกขั้นตอนจนเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 5 นาที และ10 นาที เผาผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบออกซิเดชั่น ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดวางเนื้อดินปั้นแบบเรียงเป็นชั้นและแบบม้วนเป็นวงสามารถสร้างริ้วลวดลายหินอ่อนได้ใกล้เคียงกัน ระยะเวลาในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนที่เหมาะสมคือ 10 นาที สูตรที่เหมาะสมได้แก่ สูตรที่ 3 สูตรที่ 4 สูตรที่ 7 และสูตรที่ 8 ซึ่งเป็นการเรียงดินสลับสี 4 และ 6 ชั้น

References

สุพรรณิการ์ ติรณปิรญญ์ จตุรพร เทวกุล และโอภาส นุชนิยม. (2562). รายงานผลการจัดการความรู้

โครงการนำองค์ความรู้ทางด้านเทคนิคดินสีมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์

เครื่องปั้นดินเผา. คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

เวนิช สุวรรณโมลี. (2546). อเกตแวร์. วารสารเซรามิกส์,7(17), 36-39.

ปราโมทย์ ปิ่นสกุล. (2552). การทำน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเศษผงปูนปลาสเตอร์. วารสารวิจัยและ

พัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(1), 63-71.

ยุพดี สินมาก. (2559). การศึกษาความเหมาะสมของดินในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดสระแก้วเพื่อใช้

ผลิตเครื่องปั้นดินเผา. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 61-71.

วัชรินทร์ แซ่เตีย เด่นรักซ้อน และ ปอยหลวง บุญเจริญ. (2555). การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การตกแต่งผิวดินด้วยเทคนิคสกาฟิโตบนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนแก่ผู้ประกอบการ

เครื่องปั้นดินเผาชุมชนด่านเกวียนจังหวัดนครราชสีมา. คณะศิลปกรรมและออกแบบ

อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13

How to Cite

[1]
พงศ์ศักดิ์ศรี จ., “ผลของออกไซด์ให้สีและการจัดเรียงตัวของเนื้อดินต่อการเกิดลวดลายหินอ่อนของผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน”, PSRU JITE, ปี 6, ฉบับที่ 2, น. 151–164, มิ.ย. 2024.