การออกแบบและพัฒนาสเปรดชีตเพื่อการพยากรณ์ความต้องการปุ๋ย กรณีศึกษาร้านค้าปุ๋ย ABC ในจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร ตั้งเจริญชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, กรณีศึกษา, การพัฒนาแอปพลิเคชัน, ปุ๋ยเพื่อการเกษตร, วิชวลเบสิคฟอร์แอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับพยากรณ์ความต้องการในการสั่งซื้อปุ๋ยเคมีด้วยภาษา วิชวลเบสิคฟอร์แอปพลิเคชัน (Visual basic for applications: VBA) ของร้านค้าปุ๋ยกรณีศึกษา ABC ในจังหวัดสุโขทัย ทั้งนี้เพื่อการ ทดสอบทวนสอบความถูกต้อง และความสามารถในการพยากรณ์ของแอปพลิเคชัน การวิจัยนี้จึงได้เลือกวิธีการพยากรณ์ที่แตกต่างกัน 3 วิธี ประกอบด้วย วิธีการพยากรณ์แบบถ่วงน้ำหนัก (Moving average: MA) วิธีการพยากรณ์แบบเอ็กซ์โปแนนเชียล (Single exponential smoothing: SES) และวิธีการการพยากรณ์แบบถดถอย (Regression analysis: RA) ข้อมูลที่ใช้ในการพยากรณ์ในครั้งนี้ ได้รับจากร้านค้ากรณีศึกษาประกอบด้วยข้อมูลเชิงสถิตปริมาณการสั่งซื้อของปุ๋ย 5 ชนิด ได้แก่ ปุ๋ยสิงห์บิน 36-0-0 ปุ๋ยสิงห์บิน 46-0-0 ปุ๋ยสิงห์บิน 20-8-8 ปุ๋ยม้าบิน 46-0-0 และปุ๋ยกระต่าย 16-20-0

        จากการทดสอบและทวนสอบพบว่าแอปพลิเคชันสำหรับพยากรณ์ สามารถพยากรณ์ทั้ง 3 วิธี ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้หลังจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าวิธีการพยากรณ์แบบถดถอยมีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย ในการพยากรณ์ต่ำที่สุดในชุดข้อมูลของ ปุ๋ยสิงห์บิน 36-0-0 ปุ๋ยสิงห์บิน 46-0-0 และปุ๋ยสิงห์บิน 20-8-8 ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการพยากรณ์ที่มีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด ปุ๋ยม้าบิน 46-0-0 และปุ๋ยกระต่าย 16-20-0 ควรใช้วิธีการพยากรณ์แบบแบบถ่วงน้ำหนัก และวิธีการพยากรณ์แบบเอ็กซ์โปแนนเชียล หลังจากการพยากรณ์ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับชุดข้อมูลในแต่ละชุด พบว่าค่าที่ได้จากการพยากรณ์มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าร้อยละ 14.55 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าความต้องการจริง

        อนึ่งงานวิจัยครั้งนี้ทำเพื่อการศึกษาการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการพยากรณ์ และพยากรณ์ยอดขายสินค้าปุ๋ยเพื่อการเกษตร เพื่อต่อยอดงานวิจัยนี้ ควรปรับเปลี่ยนส่วนนำเข้าข้อมูลให้เหมาะสมสำหรับสินค้าชนิดอื่นๆ เพื่อเอื้อต่อการประยุกต์ใช้ของผู้ใช้งาน สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันอาจทำได้โดยการเพิ่มวิธีการพยากรณ์รูปแบบอื่นๆ ตลอดจนเพิ่มส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลนำเข้าเพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของข้อมูล อันนำมาซึ่งการเลือกวิธีพยากรณ์ และการวัดผลพยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). จำนวนครัวเรือนเกษตรกร รายจังหวัด ปี 2565. ค้นจาก https://data.go.th/da_DK/dataset/household65

จารุวรรณ สิงห์ม่วง และธิดาพร ศุภภากร. (2563). รูปแบบการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกยางพาราของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 12(15), 58-82.

บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์. (2552). การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์

ท๊อป จำกัด

ปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์. (2560). วิธีการการพยากรณ์ความต้องการปุ๋ยเคมี กรณีศึกษา สหกรณ์การเกษตรชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (นวัตกรรมเทคโนโลยี), 10(1), 89-100.

พัชร สินธุนาวา และธนิดา ยงยืน. (2556). การเปรียบเทียบผลผลิตและคุณภาพของข้าวที่ได้จากปุ๋ยแหนแดงและปุ๋ยเคมี. (รายงานวิจัย). ทุนสนับสนุนจากคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

รัชฎา แต่งภูเขียว และณัฐนันท์ อิสสระพงศ์. (2562). การวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับการวางแผนการผลิต กรณีศึกษา บริษัทผลิตเนื้อโคขุน จังหวัดนครพนม.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโอเฮอริเทจ, 13(3), 222-232.

รุ่งนภา ศรีประโค. (2554). การลดปริมาณการขาดแคลนสินค้าโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ กรณีศึกษา บริษัทไอเซโล ประเทศไทย จำกัด. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

สายสัมพันธ์ ซุ้นเจริญ. (2563). การบูรณาการการจัดตารางการผลิตแบบหลายคำสั่งซื้อและการขนส่งหลายรูปแบบสำหรับอุตสาหกรรมสินค้าประเภททุนโดยใช้เมต้าฮิวรีสติกส์. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร รายจังหวัด ปี พ.ศ. 2562. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ค้นจาก: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/LandUtilization2562.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร รายจังหวัด ปี พ.ศ. 2552. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ค้นจาก: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/Land%20Utilization2552.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (พ.ศ.2562). สถิติการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2553 - 2562 ของจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ค้นจาก: https://data.go.th/dataset/oae0002_2553-2562

Perry, M.B., 2011. The Weighted Moving Average Technique, In Wiley Encyclopedia of Operations Research and Management Science. Retrieved from: www.researchgate.net/publication/313992471_The_Weighted_Moving_Average_Technique.

Statista Research Department. (2023). Global consumption of agricultural fertilizer from 1965 to 2021, by nutrient. Statista. Retrieved from: https://www.statista.com/statistics/438967/fertilizer-consumption-globally-by-nutrient/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

How to Cite

[1]
ตั้งเจริญชัย ณ., “การออกแบบและพัฒนาสเปรดชีตเพื่อการพยากรณ์ความต้องการปุ๋ย กรณีศึกษาร้านค้าปุ๋ย ABC ในจังหวัดสุโขทัย”, PSRU JITE, ปี 6, ฉบับที่ 2, น. 269–287, ส.ค. 2024.