ความแข็งแรงของเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีส่วนผสมของเถ้าพืช
คำสำคัญ:
เซรามิกส์, เถ้าพืช, ความแข็งแรงของเซรามิกส์, เทอราคอตตาบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแข็งแรงของเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้าพืชเป็นส่วนผสม และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความแข็งแรงของเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่ไม่มีเถ้าพืชและมีเถ้าพืชผสมอยู่ วัตถุดิบที่กำหนดคือ ดินเหนียวทะเลแก้ว เถ้าแกลบ เถ้ายางพารา และเถ้าต้นข้าวโพด กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 3 กลุ่ม เตรียมวัตถุดิบ ชั่งวัตถุดิบและบดผสมให้เข้ากัน ขึ้นรูปด้วยการอัดแบบ เผาในอุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส ผลการวิจัยพบว่า เนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาจากดินเหนียวทะเลแก้ว มีความแข็งแรง 148.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ส่วนเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้าต้นข้าวโพดเป็นส่วนผสมมีความแข็งแรงสูงสุดคือ 288.0 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีปริมาณเถ้าต้นข้าวโพดผสมอยู่ร้อยละ 25 ของวัตถุดิบ เนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้ายางพาราเป็นส่วนผสมมีความแข็งแรงสูงสุดคือ 216.7 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีปริมาณเถ้ายางพาราผสมอยู่ร้อยละ 12.5 ของวัตถุดิบ และ เนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้าแกลบเป็นส่วนผสมมีค่าความแข็งแรงสูงสุดคือ 79 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีปริมาณเถ้าแกลบผสมอยู่ร้อยละ 2.5 ของวัตถุดิบ เมื่อนำมาเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงกับเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาจากดินเหนียวทะเลแก้ว พบว่าเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้าแกลบผสมมีความแข็งแรงต่ำกว่ากลุ่มที่มีเถ้ายางพาราและเถ้าต้นข้าวโพดผสมอยู่ ซึ่งมีความแข็งแรงที่สูงกว่า โดยค่าความแข็งแรงที่แตกต่างกันยังขึ้นอยู่กับปริมาณของส่วนประกอบทางเคมีของเถ้าพืชแต่ละชนิด อุณหภูมิที่เผา การขึ้นรูป และปริมาณของเถ้าพืชในส่วนผสม โดยส่วนผสมที่กล่าวมาข้างต้นสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้จริง และเป็นข้อมูลสนับสนุนในการทำวิจัยครั้งต่อไปได้
References
โกมล รักษ์วงศ์. (2531). วัตถุดิบที่ใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผาและเนื้อดินปั้น. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครูพระนคร.
ดนุพล ตันนโยภาส และคณะ. (2557). ผลของการเติมเถ้าลอยไม้ยางพาราต่อสมบัติของมวลรวมน้ำหนักเบาผลิตจากแก้วขวดใส. 15(1), 32.
ทนารัช จิตชาญวิชัย. (2561). เครื่องปั้นดินเผาอุณหภูมิต่ำทำจากเถ้าลอยลิกไนต์ และดินเหนียวทะเลแก้ว จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระพิบูลสงคราม.
ประสิทธิ์ แก้วฟุ้งรังษี. (2539). การทดลองหาประสิทธิภาพเนื้อดินปั้นประเภทสโตนแวร์ของดินเหนียวทะเลแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2539). เซรามิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา, สุรศักดิ์ ไวทยวงศ์สกุล, ฟูศักดิ์ บุญยกุลศรีรุ่ง, วรมน สุภัทรวณิชย์, วีระ ชูกระชั้น, ศรีไฉล ขุนทน, ...สรินทร ลิ่มปนาท. (2543). เครื่องมือวิจัยทางวัสดุศาสตร์ : ทฤษฎีและหลักการทำงานเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. (2548). พจนานุกรมศัพท์วัสดุศาสตร์ และเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
เสริมศักดิ์ นาคบัว. (2536). เคลือบขี้เถ้าพืช. กรุงเทพฯ: เจ.ฟิลม์ โปรเซส จำกัด.
สุภกิจ พุ่มพวง. (2560). การทดลองเนื้อดินปั้นที่มีน้ำหนักเบา จากดินเหนียวทะเลแก้ว. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระพิบูลสงคราม.
อรนุช จินดาสกุลยนต์. (2561, มีนาคม). ขี้เถ้าไม้สำหรับเคลือบเซรามิกส์. เอกสารในการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอม. ราชบุรี.
อายุวัฒน์ สว่างผล. (2543). วัตถุดิบที่ใช้แพร่หลายในงานเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.