การหาคำตอบที่ดีที่สุดของที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้จังหวัดอุตรดิตถ์ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • รัตน์ติยากร มีรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • บุญทรัพย์ พานิชการ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การเลือกทำเลที่ตั้ง, ศูนย์กระจายสินค้า, สินค้าเกษตร, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

     การเลือกที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์ ในการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ที่ตั้งที่เหมาะสมศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้ สำหรับสินค้าผักและผลไม้จากแต่ละอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการหาคำตอบที่ดีที่สุดของที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่เกิดต้นทุนโดยรวมต่ำที่สุดและใช้ระยะเวลาโดยรวมน้อยที่สุด และประยุกต์ใช้เอ็กเซลโซลเวอร์ (Excel solver) สำหรับการประมวลผล ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ประกอบด้วย ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า ปริมาณความจุศูนย์กระจายสินค้า ปริมาณผลผลิตผักและผลไม้ ระยะทาง และเวลา ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ด้านต้นทุนโดยรวม ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก และลับแล โดยมีต้นทุนโดยรวมต่ำที่สุด คือ 46,066,154 บาท/ปี ในขณะที่ด้านระยะเวลา ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้ ได้แก่ ทุกอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีระยะเวลาโดยรวมน้อยที่สุด คือ 45,344 นาที/ปี ซึ่งจะพบว่า มีพื้นที่ 5 อำเภอที่เหมาะสมที่สุดในการจัดตั้งให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้ จากทั้งปัจจัยด้านต้นทุนโดยรวมและด้านระยะเวลาโดยรวม ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก และอำเภอลับแล

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). ระบบให้บริการข้อมูลสารสนเทศ

การผลิตทางด้านการเกษตร. ค้นจาก https://production.doae.go.th.

กรมการขนส่งทางบก. (2559). โครงการการศึกษาต้นทุนการขนส่งและกระจายสินค้าเพื่อรองรับการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าทั่วประเทศ. (รายงานอัตราค่าขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกของประเทศไทย). ค้นจาก https://www.thaitruckcenter.com.

กฎกระทรวงฉบับที่ 6. (2527). พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. ค้นจาก https://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr27-06.pdf.

กิตติพงษ์ รักษ์เจริญ. (2557). การศึกษาระบบการขนส่งและเลือกทำเลที่ตังศูนย์กระจายสินค้า กรณีศึกษาธุรกิจรับจัดการจนส่งสินค้าของธุรกิจค้าปลีก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562). ข้อมูลด้านการเกษตรที่สำคัญ

ของจังหวัดอุตรดิตถ์. ค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/uttaradit-dwl-files-431891791919.

จารุพงษ์ บรรเทา, พงษ์ศักดิ์ นาใจคง, ธัญชนก งามสมโภชน์, เสาวลักษณ์ อาจใจ และณัฐิญา วงละคร. (2560, กรกฎาคม). ตัวแบบการกำหนดที่ตั้งคลังวัคซีน กรณีศึกษาโรงพยาบาลในเขตจังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 8, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.

จุฑามาศ อินทร์แก้ว. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยการเลือกทำเลที่ตั้งสาขา กรณีศึกษา

หจก. เอสเอส ค้าไม้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.

ณภัทร ศรีนวล, อดุลย์ นงภา, สิทธิโชค สินรัตน์, แววมยุรา คาสุข และพิมสหรา ยาคล้าย. (2559). การประยุกต์ใช้กระบวนการลาดับชั้นเชิงวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้า. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(2), 75-90.

ดวงขวัญ รณฤทธิวิชัย. (2554). การวิเคราะห์หาจำนวนและที่ตั้งที่เหมาะสมของศูนย์กระจายสินค้า ผลิตภัณฑ์น้ำตาล ด้วยวิธีออพติไมเซชัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

มูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าแห่งประเทศไทย. (2566). ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร. ค้นจาก https://www.thaiappraisal.org/thai/value/value.php.

ยุพิน วงษ์วิลาศ. (2557). การวิเคราะห์การเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า กรณีศึกษาธุรกิจบริการจัดส่ง และกระจายสินค้าอุปโภคบริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต),

มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อุทัย มิตรช่วยรอด, พงศ์ หรดาล และสมเดช เฉยไสย. (2554). การศึกษาทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายน้ำมันในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 5(1), 94- 100.

Anthony, R., & Vaidyanathan, J. (2008). An evaluation of new heuristics for the location of cross-docks distribution centers in supply chain network design. Computers & Industrial Engineering. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.cie.2007.12.001.

Esther, S., Rafael, B.C., & Angélica, L. (2014). Dynamic Location of Distribution Centers, a Real Case Study. Transportation Research Procedia, 3, 547-554.

Hafize, Y., & Özgür, K. (2016). A Multiple Objective Mathematical Program to Determine Locations of Disaster Response Distribution Centers. IFAC- PapersOnLine, 49(12), 520-525.

Nona, O. (2015). Determining the Optimal Distribution Center Location. (Master's thesis). Tampere University of Technology, Finland.

Yingfeng, J., Hualong, Y., Yan, Z., & Weixin, Z. (2013). Location Optimization Model of Regional Express Distribution Center. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 96, 1008-1013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-12

How to Cite

[1]
มีรัตน์ ร. และ พานิชการ บ., “การหาคำตอบที่ดีที่สุดของที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้จังหวัดอุตรดิตถ์ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์”, PSRU JITE, ปี 6, ฉบับที่ 1, น. 110–124, เม.ย. 2024.