การออกแบบและพัฒนาเครื่องขัดผิวโลหะ

ผู้แต่ง

  • แมน ฟักทอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก
  • เกริกชัย มีหนู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก
  • ศักดิ์สิทธิ์ ชื่นชมนาคจาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก
  • ธงชัย เครือผือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • กันตภณ โล่นพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

กระบวนการขัดผิวโลหะ, การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของวัสดุ, เครื่องขัดผิวโลหะ, โลหะ, เหล็ก S45C

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบและพัฒนาเครื่องขัดผิวโลหะ เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องขัดผิวโลหะและประเมินความพึงพอใจโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการทดลองใช้ชิ้นงานทดสอบเป็นเหล็ก S45C โดยหาประสิทธิภาพเครื่องจากการเปรียบเทียบความเร็วรอบที่ 300, 600, 900, 1,200 และ 1,500 รอบ/นาที และทำการเริ่มต้นขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 360, 600 และ 1,000 และทำการประเมินความพึงพอใจจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน พบว่า จากขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 360 ความเร็วรอบที่เหมาะสม คือ 1,200 และ 1,500 รอบ/นาที จากการทดสอบขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 600 ความเร็วรอบที่เหมาะสม คือ 900, 1,200 และ 1,500 รอบ/นาที และจากขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 1,000 ความเร็วรอบที่เหมาะสม คือ 900, 1,200 และ 1,500 รอบ/นาที และพบว่า ขนาดของกระดาษทรายและความเร็วรอบที่เหมาะสมในการใช้งาน คือ ขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 1,000 ที่ความเร็วรอบ 1,200 รอบ/นาที

References

กวี หวังนิเวศน์กุล. (2556). วัสดุวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งแสงการพิมพ์.

ณัฐ แก้วสกุล. (2546). การสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องขัดชิ้นงาน เพื่อทดสอบโครงสร้างจุลภาคแบบกึ่งอัตโนมัติ. (วิทยานิพนธ์). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ.

นรารักษ์ บุตรชา, สุรเชษฐ์ ซ้อนกลิ่น, สุรัตน์ วรรณศรี, สุรินทร์ มณีศรี และธวัช วิวัตน์เจริญ. (2558, กันยายน). เครื่องขัดเตรียมชิ้นทดสอบสำหรับงานวัสดุ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 6, วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, ขอนแก่น.

บรรเลง ศรนิล และประเสริฐ ก๊วยสมบูรณ์. (2523). ตารางงานโลหะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มานพ ตันตระบัณฑิตย์. (2555). งานทดสอบวัสดุอุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

มานพ ตันตระบัณฑิตย์ และสำลี แสงห้าว. (2537). วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น),.

วริทธิ์ อึ้งภากรณ์ และชาญ ถนัดงาน. (2556). การออกแบบเครื่องจักรกล 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

วิวัฒน์ โตนิล. (2558). โลหะวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

วีระวัฒน์ ทองงาม และจำนง ชูด้วง. (2548). สร้างและพัฒนาเครื่องขัดกระดาษทราย (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง, ลำปาง.

ธนากร เกียรติขวัญบุตร และสุชาติ จันทรมณย์. (2564). การออกแบบและสร้างเครื่องขัดชิ้นงานแบบจานคู่. วารสารวิชาการที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย, 10(3). 175-185.

ไพลิน ฤกษ์จิรสวัสดิ์. (2555). หลักพื้นฐานของกรรมวิธีทางความร้อนของเหล็ก : Fundamentals of Heat Treatment of Steels. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ, ชัญญาพันธ์ วิรุฬห์ศรี และศุภวัฒ เจียมลักษณไพศาล. (2552, พฤศจิกายน). การปรับปรุงความหยาบผิวด้วยขนาดผงขัดและเส้นทางการขัดที่เหมาะสม. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จังหวัดเชียงใหม่

Jianfeng, L., & Davi, A. (2001). Material Removal Mechanism in Chemical Mechanical Polishing: Theory TRANSACTIONS and ON Modeling, IEEE SEMICONDUCTOR MANUFACTURING, 14(2). 112-133.

Yougsong, X., & Bharat, B. (1996). Effects of particle size, polishing pad and contact pressure in free abrasive polishing. Wear, 200(1-2), pp. 281-295.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

How to Cite

[1]
ฟักทอง แ., มีหนู เ. ., ชื่นชมนาคจาด ศ., เครือผือ ธ., และ โล่นพันธ์ ก., “การออกแบบและพัฒนาเครื่องขัดผิวโลหะ”, PSRU JITE, ปี 6, ฉบับที่ 2, น. 246–255, ส.ค. 2024.