ผลของแมงกานีสไดออกไซด์ นิกเกิลออกไซด์ และคอปเปอร์ออกไซด์ต่อการปรากฏสีของเคลือบเฟลด์สปาร์ที่อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส

ผู้แต่ง

  • จุมพฏ พงศ์ศักดิ์ศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

เคลือบเฟลด์สปาร์, แมงกานีสไดออกไซด์, นิกเกิลออกไซด์, คอปเปอร์ออกไซด์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปริมาณของแมงกานีสไดออกไซด์ นิกเกิลออกไซด์ และคอปเปอร์ออกไซด์ที่ส่งผลต่อการปรากฏสีของเคลือบเฟลด์สปาร์ 2) เพื่อศึกษาปริมาณของแมงกานีสไดออกไซด์ นิกเกิลออกไซด์ และคอปเปอร์ออกไซด์ที่ส่งผลต่อลักษณะผิวที่ปรากฏของเคลือบเฟลด์สปาร์ ดำเนินการวิจัยโดยกำหนดเคลือบพื้นฐานที่มีส่วนผสมของแมงกานีสไดออกไซด์ นิกเกิลออกไซด์ และคอปเปอร์ออกไซด์ แบบเจาะจงจากตารางสามเหลี่ยม จำนวน 15 สูตร ชั่งและบดความเร็วสูง 5 นาที เผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส บรรยากาศแบบออกซิเดชัน วิเคราะห์การเกิดสี ความสว่างและค่าสีเคลือบด้วยเครื่องวัดค่าสี ผลการวิจัยพบว่า การเกิดสีของเคลือบมี 6 กลุ่มสี ดังนี้ 1) RAL-LS 7043 2) RAL-LS 7024 3) RAL-LS 7009 4) RAL-LS 7010    5) RAL-LS 7013 และ 6) RAL-LS 7003  ค่าความสว่าง ค่า L* อยู่ระหว่าง 25.05 ถึง 37.33 มีค่าสี a* อยู่ระหว่าง -0.65 ถึง 0.54 ค่าสี b* อยู่ระหว่าง -2.26 ถึง 6.58 ผิวเคลือบ มี 2 ลักษณะ 1) ผิวกึ่งมันกึ่งด้าน ได้แก่ สูตรที่ 7 11 12 และ 2) ผิวมันแวววาว ได้แก่ สูตรที่ 1 2 3 4 5 6 8 9 10 13 14 15 มีระดับความมันเงาอยู่ระหว่าง 30-85 GU และส่วนผสมที่ 4 7 8 11 ผิวเคลือบมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม ส่วนผสมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในงานศิลปะเซรามิกส์ และการพัฒนาเคลือบในอุตสาหกรรม ประกอบด้วย เฟลด์สปาร์ ร้อยละ 45 โดโลไมท์ ร้อยละ 10 แคลเซียมคาร์บอเนต ร้อยละ 13 ดินขาว ร้อยละ 7 และควอตซ์ ร้อยละ 25 และสามารถใช้ออกไซด์ ได้ดังนี้ 1) แมงกานีสไดออกไซด์ ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 6 2) นิกเกิลออกไซด์ ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 3 และ 3) คอปเปอร์ออกไซด์ ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 6

References

ดรุณี วัฒนศิริเวช, และสุธี วัฒนศิริเวช. (2552). การวิเคราะห์แร่ดินเคลือบและตำหนิในผลิตภัณฑ์

เซรามิก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธมลวัฒน์ หิรัญชาติอนันต์. (2565). การพัฒนาสูตรเคลือบดอกซากุระโดยใช้นิเกิลออกไซด์เป็น

สารให้สี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(2), 23-31.

สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/254466

ปราโมทย์ ปิ่นสกุล. (2552). การทำน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเศษผงปูนปลาสเตอร์. วารสารวิจัยและ

พัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(1), 63-71.

พรชัย ปานทุ่ง. (2558). การพัฒนาน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเนื้อดินพื้นบ้าน. วารสารวิจัยสหวิทยาการ

ไทย, 10(3), 38-44. สืบค้นจาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/

article/view/45040

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2546). สีเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2547). รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2552). ตำหนิเซรามิกและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ภรดี พันธุภากร, และเสกสรรค์ ตันยาภิรมย์. (2542). เคลือบเซรามิกส์จากเปลือกหอยนางรม.

(รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริมา เอมวงษ์. (2557). การพัฒนาเคลือบโครมทินเรด อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส.

วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 52-57.

สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/Itech/issue/view/3207

สุขุมาล สาระเกษตริน. (2564). เครื่องปั้นดินเผาการออกแบบและปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: 50 Press

Printing.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2556). เครื่องปั้นดินเผาสโตนแวร์ (มผช. 930/2556).

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

Singer S.S. (1963). Industrial ceramics. London: Chapman and Hall Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

[1]
พงศ์ศักดิ์ศรี จ., “ผลของแมงกานีสไดออกไซด์ นิกเกิลออกไซด์ และคอปเปอร์ออกไซด์ต่อการปรากฏสีของเคลือบเฟลด์สปาร์ที่อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส”, PSRU JITE, ปี 6, ฉบับที่ 3, น. 317–334, ธ.ค. 2024.