การจัดเส้นทางและตารางเวลาเดินรถสำหรับการจัดส่งไข่ไก่

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ดา คำจันทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • หทัยชนก ศรีบุญเรือง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • วิเรขา คำจันทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง, การวางแผนขนส่งหลายช่วงเวลา, ธีการแบบประหยัด, วิธีค้นหาแบบทาบู

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายขนส่งสำหรับปัญหาการจัดเส้นทางและตารางเวลาเดินรถการจัดส่งไข่ไก่ของกรณีศึกษาโดยการแก้ปัญหามี 2 ระยะคือการสร้างคำตอบเริ่มต้น (Initial solution) และพัฒนาคำตอบ ระยะแรกเป็นการสร้างคำตอบเริ่มต้นด้วยวิธีฮิวริสติก 3 วิธีซึ่งประกอบด้วยวิธีเพื่อนบ้านใกล้สุด (Nearest neighbor method) วิธีการกวาด (Sweep algorithm) และวิธีการแบบประหยัด (Saving algorithm) ผลพบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 7.41% 8.94% และ 11.42% ตามลำดับ ในระยะที่สองแผนการจัดส่งจะถูกพัฒนาคำตอบด้วยวิธีการค้นหาแบบทาบู (Tabu search algorithm) ซึ่งผลการศึกษาพบว่าแผนขนส่งที่ได้จากพัฒนาคำตอบของแผนจากวิธีปัจจุบัน วิธีเพื่อนบ้านใกล้สุด วิธีการกวาด และวิธีการแบบประหยัดสามารถลดค่าใช้จ่ายจากวิธีการปัจจุบันได้ 12.67% 12.42% 12.44% และ 12.67% ตามลำดับ

References

เกศินี สือนิ (2563). การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าโดยการเปรียบเทียบระหว่างการใช้วิธีเซฟวิ่งอัลกอริทึมและวิธีขั้นตอนวิธีการเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดอัลกอริทึม. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(2), 1-14.

คฑาทรัพย์ คำสอน, ศศิธร รองกลิ่น, และนราธิป สุพัฒน์ธนานนท์. (2563). การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เหมาะสม โดยใช้วิธีการหาตำแหน่งจากระยะทางที่ใกล้ที่สุด กรณีศึกษา บริษัทกระจายสินค้าเครื่องดื่ม. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น, ขอนแก่น.

ณัฐนิชา ประยูรศุข, ณัฐพัชร์ ภัทรเสฏฐิ์, พงศ์สิริ จันทร์สว่าง และสหรัฐ ผลดีประสิทธิ์. (2561). การจัดเส้นทางการขนส่งวัตถุดิบและการกระจายสินค้าของธุรกิจนม. (ปัญหาพิเศษปริญญาตรี). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นคร ไชยวงศ์ศักดา, ประเวช อนันเอื้อ, นิเวศ จีนะบุญเรือง, เสกสรร วินยางค์กูล, ขวัญเรือน สินณรงค์, ธนากร จักรแก้ว, วุฒิชัย ใจบาล และณัฐวุฒิ ศรีสว่าง. (2558). การจัดเส้นทางการขนส่งโดยใช้เซฟวิ่งอัลกอริทึมและตัวแบบปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย กรณีศึกษาโรงงานน้ำดื่ม. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, 3(1), 51-61.

นฤมล ไชยโคตร. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการฮิวริสติกในการจัดการการขนส่งสำหรับโรงงานกรณีศึกษาโรงงานจำหน่ายอุปกรณ์ระบบงานไฟฟ้า. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 169-177.

พิชญ์ พันธุ์พิพัฒน์ และเปรมพร เขมาวุฆฒ์. (2562). การจัดเส้นทางการขนส่งของรถบรรทุกขนาดใหญ่สำหรับสินค้าประเภทเทกองและกระสอบ กรณีศึกษาบริษัทผู้ให้บริการขนส่ง. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 9(1), 136-151.

รวีโรจน์ ป้องทรัพย์, และธัญภัส เมืองปัน. (2564). การจัดเส้นทางขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์ กรณีศึกษาบริษัทขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 5(2), 12-23.

วุฒิไกร ไชยปัญหา. (2560). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการปรับปรุงเส้นทาง การจัดส่งสินค้า สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงน้ำแข็ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 7(2), 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

[1]
คำจันทร์ ศ., ศรีบุญเรือง ห., และ คำจันทร์ ว., “การจัดเส้นทางและตารางเวลาเดินรถสำหรับการจัดส่งไข่ไก่”, PSRU JITE, ปี 6, ฉบับที่ 3, น. 395–408, ธ.ค. 2024.