การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ ในการบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อการผลิตหินเจียร
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ, แผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน, ประสิทธิภาพของเครื่องจักร, ประสิทธิผลของเครื่องจักร, การผลิตหินเจียรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบของเครื่องจักรที่มีต่อกระบวนการผลิตหินเจียร เพื่อทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเครื่องจักรเพื่อการผลิตหินเจียรของบริษัทมิตซุยไกรน์ดิ้ง เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด การดำเนินงานวิจัยโดยการค้นหาปัญหาและสาเหตุของการหยุดการทำงานของเครื่องบีบอัดตามปัจจัยการผลิต 5 ด้าน (4M1E) ก่อนใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบพิจารณาหาค่าความเสี่ยงของประเด็นความบกพร่องที่มาจากปัจจัยด้านเครื่องจักร นำสู่การวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ทดลองปฏิบัติตามแผนและวัดผลการทำงานของเครื่องจักร ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์หาสาเหตุของเครื่องจักรหยุดทำงานและวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลการทบของเครื่องจักร ได้จำนวน 14 ประเด็น นำสู่การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องบีบอัดที่ครอบคลุม 3 รอบเวลาและ 4 กิจกรรมได้แก่การบำรุงรักษาประจำวันด้วยการทำความสะอาดและการตรวจสอบ การบำรุงรักษาประจำสัปดาห์ได้แก่การหล่อลื่น และการบำรุงรักษาประจำปีได้แก่การเปลี่ยนอะไหล่ ผลการใช้แผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรพบว่า เครื่องบีบอัดมีประสิทธิภาพการบำรุงรักษาดีขึ้น ได้แก่ เวลาของเครื่องจักรต่อเนื่องเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เวลาหยุดซ่อมเฉลี่ยลดลง อัตราการเสียลดลง และอัตราการใช้งานเครื่องจักรเพิ่มขึ้น รวมทั้งเครื่องบีบอัดมีค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น ที่มาจากการเพิ่มขึ้นของค่าอัตราการเดินเครื่อง ค่าประสิทธิภาพการเดินเครื่อง และค่าอัตราคุณภาพ
References
กิตติชัย อธิกุลรัตน์, ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล, และเจษฎา พลายชุมพล. (2565). การประยุกต์รูปแบบความล้มเหลวและการวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อลดของเสียในกระบวนการผลิตเสาไฟฟ้า. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณเจ้าทหารลาดกระบัง, 38(3), 63-64.
เกวลี วรนันท์, และจิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์. (2565). การเพิ่มอัตราคุณภาพสินค้าดีของกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ชนิดสั้น. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 28(3), 112-125.
จตุรงค์ สันพลี, และปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2566). การลดความสูญเสียที่เกิดจากการหยุดเดินเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเพลาด้วยการวัดประสิทธิผลโดยรวม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 33(2), 671-683.
จารุวรรณ พรหมเงิน, และธีรภัทร จงรักษ์. (2563). การวางแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการอัดเม็ดด้วยเทคนิค FMEA กรณีศึกษาโรงงานชีวมวลอัดเม็ด. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1), 1-12.
บริษัท มิตซุยไกรน์ดิ้ง เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด. (2566). คู่มือผลิตภัณฑ์บริษัท. ชลบุรี: ม.ป.ท.
พรรณวิภา ลาภจิตร. (2565). การใช้เครื่องมือ FMEA (Failure Mode and Effects Analysis) ในการจัดการความเสี่ยงของระบบยาแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น, 7(4), 117-128.
ระพี กาญจนะ, สุรัตน์ ตรัยวนพงศ์, และกิตติพงษ์ กิมะพงศ์. (2563). การระบุแนวทางการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 18(2), 35-45.
รังสรรค์ ไชยเชษฐ์, ประภากรณ์ แสงวิจิตร, และชฎาภรณ์ แสงตามี. (2563). การวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน กรณีศึกษาสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 14(1), 79-89.
รัชฎากรณ์ ภู่ห้อย, และประจวบ กล่อมจิตร. (2565). การวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับปฏิบัติการกรณีศึกษาโรงงานผลิตถุงพลาสติก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 15(4), 120-128.
รัฐวุฒิ วงษ์วิทย์. (2566). การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์การขัดข้องและผลกระทบ กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีต. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 16(3), 59-69.
โศจิรพักร์ บุตรคำโชติพร, วิชญุตร์ งามสะอาด, ประพันธ์ศักดิ์ บูรณะประภา, และอำนวย แก้วใส. (2564). การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิด FMEA ในกระบวนการขึ้นรูปแม่พิมพ์ขวดพลาสติก กรณีศึกษาบริษัท GP. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยกรุงเทพตะวันออกเฉียงใต้, 1(3), 30-44.
สมชาย เปรียงพรม, สุชาดี ธำรงสุข, และวรรณลภย์ อนันตเจริญโชติ. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการวางแผนการบำรุงรักษา: กรณีศึกษาเครื่องจักรสายพานลำเลียงภายในห้องรับ-จ่ายวัตถุดิบ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 31(2), 201-215.
สุชาดี ธำรงสุข, และวิชญาพร เครือเอี่ยม. (2566). การเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตมอลต์สกัด. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 33(4), 1-15.
เสขสัน นาคพ่วง, ศักดิ์ชาย รักการ, และจีรวัฒน์ ปล้องใหม่. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร. วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 10(2), 131-132.
Ceylan, B.O., Akyar, D.A., & Celik, M.S. (2023). A novel FMEA approach for risk assessment of air pollution from ships. Marine Policy, 150, n.p. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0308597X23000635
Hartwell, J. (2022). FMEA RPN-Risk Priority Number. How to Calculate and Evaluate?. Retrieved form https://www.iqasystem.com/news/risk-priority-number/
Mascia, A., Cirafici, A.M., Bongiovanni, A., Colotti, G., Lacerra, G., Carlo, M.Di., Digilio, F. A., Liguori, G.L., Lanati, A., & Kisslinger, A. (2020). A Failure Mode and Effect Analysis (FMEA)-based approach for risk assessment of scientific processes in non-regulated research laboratories. Accreditation and Quality Assurance, 25, 311-321. Retrieved from https://doi.org/10.1007/s00769-020-01441-9
Namhata, P., Rakshit, A., Naskar, S. K., Bose, D., & Chatterjee, S. (2021). Risk Priority Number (RPN) assessment in design Failure Modes and Effective Analysis for the Automobile Plant using factor analysis. Instant Journal of Mechanical Engineering, 20-24. Retrieved from https://doi.org/10.36811/ijme. 2021.110006