การศึกษาคุณสมบัติของวัสดุรองพื้นทางแอสฟัลต์คอนกรีตเก่าเป็นส่วนผสม

ผู้แต่ง

  • ขวัญชัย เทศฉาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา-ตาก
  • บำรุง บัวชื่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา-ตาก

คำสำคัญ:

วัสดุผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตเก่า, ดินลูกรัง, ชั้นรองพื้นทาง

บทคัดย่อ

     ชั้นรองพื้นทางเป็นชั้นโครงสร้างของถนนที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของยานพาหนะบนชั้นผิวทางลงมายังชั้นโครงสร้างทางอื่น ๆ ดังนั้นวัสดุที่จะนำมาก่อสร้างชั้นรองพื้นทางจึงต้องเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่ดีและมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐานงานถนน งานวิจัยนี้นำเสนอการนำวัสดุผิวทางเก่าที่เหลือจากการขูดไสผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตเก่า (RAP) จากโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงหมายเลข 101 สายทางกำแพงเพชร-สุโขทัย ตอนแยก อ.ลานกระบือ-อ.คีรีมาศ จ.กำแพงเพชร กม. 33+000 - กม. 36+010 โดยผสมกับดินลูกรังจากแหล่ง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุชั้นรองพื้นทาง ผู้วิจัยทำการทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานของวัสดุ และได้แบ่งตัวอย่างอัตราส่วนผสม ดินลูกรัง : แอสฟัลต์คอนกรีตเก่า เท่ากับ 1:1, 2:1 และ 3:1 โดยน้ำหนัก จากนั้นทำการทดสอบคุณสมบัติการบดอัด (Compaction test) แบบสูงกว่ามาตรฐาน (Modified compaction) และการทดสอบหาค่าซีบีอาร์ (CBR) แบบแช่น้ำ (Soaked) ที่ 4 วัน พบว่าปริมาณน้ำที่เหมาะสมในการบดอัดวัสดุผิวทางดินลูกรังกับแอสฟัลต์คอนกรีตเก่ามีค่าเท่ากับร้อยละ 4.0, 6.0 และ 7.6 ตามลำดับ สำหรับกำลังรับน้ำหนักของดินที่ได้จากการทดสอบหาค่าซีบีอาร์ (CBR) มีค่าเท่ากับร้อยละ 9.5, 28.4 และ 40.7 ซึ่งอัตราส่วนผสมที่ 2:1 และ 3:1 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของชั้นรองพื้นทางของถนน ดังนั้นการนำวัสดุผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตเก่ามาหมุนเวียนใช้งานเป็นวัสดุคัดเลือกทดแทนในอุตสาหกรรมงานก่อสร้างทาง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัสดุงานทางในอนาคต

References

กรมทางหลวง. (2515). ทล. -ท. 102/2515 วิธีการทดลองหาค่า Liquid Limit (L.L.) ของดิน

กรมทางหลวง. (2515). ทล. -ท. 103/2515 วิธีการทดลองหาค่า Plastic Limit (P.L.) และ Plasticity Index (P.I.) ของดิน

กรมทางหลวง. (2517). ทล. -ท. 108/2517 วิธีการทดลอง Compaction Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน

กรมทางหลวง. (2517). ทล. -ท. 109/2517 วิธีการทดลองเพื่อหาค่า C.B.R

กรมทางหลวง. (2517). ทล. -ท. 205/2517 วิธีการทดลองหาขนาดเม็ดของวัสดุ โดยผ่านตะแกรงแบบล้าง

กรมทางหลวง. (2532). ทล. -ม. 205/2532 มาตรฐานรองพื้นทางวัสดุมวลรวม

จิรายุทธ สืบสุขและคณะ (2559). กำลังอัดแกนเดียวและโครงสร้างจุลภาคของดินลูกรังเกือบตกชั้นคุณภาพปรับปรุงด้วยผิวทางแอสฟัลต์รีไซเคิลและซีเมนต์, ศูนย์วิจัยเพื่อความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมโยธาและวัสดุก่อสร้าง, คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน.

นิรชร นกแก้ว และ ดำรง ปาละกูล (2559). สมบัติทางกายภาพของแอสฟัลต์คอนกรีตโดยวิธีมาร์แชลล์เมื่อใช้ปริมาณวัสดุชั้นผิวทางเดิมหมุนเวียนเพื่อใช้งานใหม่ต่างกัน.วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 28-37.

Dinis-Almeida, M., Castro-Gomes, J., Sangiorgi, C., Zoorob, S., & Afonso, M. (2016). Performance of Warm Mix Recyled Asphalt containing up to 100% RAP. Construction and Building Materials, 112, 1-6.

Izaks, R., Haritonovs, V., Klasa, I., & Zaumanis, M. (2015). Hot Mix Asphalt with High RAP Content. Procedia Engineering, 114, 676-684.

Pawar, R., Patted, A., & Gowdabs, K. (2017, March). Recycling of Bituminous Pavement by RAP Method. Mangalore Institute of Technology & Engineering (ICGCSC-2017), Moodbidri, INDIA.

Lertcuntapak, S. (2013). Compressive strength of reclaimed asphalt pavement stabilized with cement (Thesis), Suranaree University of Technology, Nakorn Ratchasima.

Muthu, L.S., Geetha, S., & Selvakumar, M. (2021). Predicting soaked C.B.R. of SC subgrade from dry denxity for light and heavy compaction, Materials Today: Proceedings, 2021, 45(2), 1664-1670.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29

How to Cite

[1]
เทศฉาย ข. และ บัวชื่น บ., “การศึกษาคุณสมบัติของวัสดุรองพื้นทางแอสฟัลต์คอนกรีตเก่าเป็นส่วนผสม”, PSRU JITE, ปี 6, ฉบับที่ 3, น. 354–364, ธ.ค. 2024.