การเปลี่ยนแปลงปริมาณของเบนทอไนต์ เฟอร์ริกออกไซด์ แมงกานีสไดออกไซด์ และนิเกิลออกไซด์ต่อลักษณะ ที่ปรากฏของเคลือบเซรามิกส์ที่อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส
คำสำคัญ:
เคลือบเซรามิกส์, เบนทอไนต์, เฟอร์ริกออกไซด์, แมงกานีสไดออกไซด์, นิเกิลออกไซด์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเบนทอไนต์ เฟอร์ริกออกไซด์ แมงกานีสไดออกไซด์ และนิเกิลออกไซด์ที่ส่งผลต่อการปรากฏสี และลักษณะที่ปรากฏของเคลือบเซรามิกส์ โดยกำหนดเคลือบพื้นฐานที่มีส่วนผสมของ เฟลด์สปาร์ โดโลไมท์ แคลเซียมคาร์บอเนตดินขาว ควอตซ์ และใช้สารเพิ่มเติมแบบเจาะจง ร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 9 ได้แก่ 1) เบนทอไนต์กับเฟอร์ริกออกไซด์ 2) เบนทอไนต์กับแมงกานีสไดออกไซด์ และ 3) เบนทอไนต์กับนิเกิลออกไซด์ จำนวน 27 ส่วนผสม เผาที่อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส บรรยากาศแบบออกซิเดชั่น ผลการวิจัยพบว่า เคลือบเซรามิกส์ทุกส่วนผสมมีโทนสีน้ำตาล มีลักษณะความมันแวววาวและกึ่งด้านกึ่งมัน และทุกสูตรมีความสมบูรณ์ไม่มีตำหนิ ส่วนผสมที่สามารถนำไปประยุกต์ปรับปรุงพัฒนาเคลือบในอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ประกอบด้วย เฟลด์สปาร์ ร้อยละ 45 โดโลไมท์ ร้อยละ 10 แคลเซียมคาร์บอเนต ร้อยละ 13 ดินขาว ร้อยละ 7 และควอตซ์ ร้อยละ 25 และสามารถใช้สารเพิ่มเติมในส่วนผสม ได้ดังนี้ 1) เบนทอไนต์ ร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 6 ผสมกับเฟอร์ริกออกไซด์ ร้อยละ 4 ถึงร้อยละ 9 2) เบนทอไนต์ ร้อยละ1 ถึงร้อยละ 9 ผสมกับแมงกานีสไดออกไซด์ ร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 9 และ 3) เบนทอไนต์ ร้อยละ 5 ถึง ร้อยละ 9 ผสมกับนิเกิลออกไซด์ร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 5
References
กฤตยชญ์ คำมิ่ง, และคนึงนิต ปทุมมาเกสร. (2559). การพัฒนาเคลือบเซรามิกขี้เถ้ามันสำปะหลัง
จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมชูปถัมภ์, 11 (3), 85-94.
ดรุณี วัฒนศิริเวช, และสุธี วัฒนศิริเวช. (2552). การวิเคราะห์แร่ดินเคลือบและตำหนิในผลิตภัณฑ์
เซรามิก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธมลวัฒน์ หิรัญชาติอนันต์. (2565). การพัฒนาสูตรเคลือบดอกซากุระโดยใช้นิเกิลออกไซด์เป็น
สารให้สี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(2), 23-31.
ปราโมทย์ ปิ่นสกุล. (2552). การทำน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเศษผงปูนปลาสเตอร์. วารสารวิจัยและ
พัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(1), 63-71.
พรชัย ปานทุ่ง. (2558). การพัฒนาน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเนื้อดินพื้นบ้าน. วารสารวิจัยสหวิทยาการ
ไทย, 10(3), 38-44.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2546). สีเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2547). รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศิริมา เอมวงษ์. (2557). การพัฒนาเคลือบโครมทินเรด อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส.
วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 52-57.
สมศักดิ์ ชวาลาวัณย์. (2549). เซรามิกส์. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผาพื้นฐานการออกแบบและปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุขุมาล สาระเกษตริน. (2564). เครื่องปั้นดินเผาการออกแบบและปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: 50 Press
Printing.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2556). เครื่องปั้นดินเผาสโตนแวร์ (มผช. 930/2556).
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.