การจัดการขยะชุมชนหนองขาย่าง ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • Rungrueang Ngahom Environmental Science program, Faculty of Science, Buriram Rajabhat University
  • ทิพวัลย์ แสนคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ชุมชนปลอดขยะ, ขยะรีไซเคิล, ธนาคารขยะ, การจัดการขยะ, จนองจองได

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณ องค์ประกอบ และแนวทางการจัดการขยะชุมชนหนองขาย่าง ตำบลเสม็ด อำเภอบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  ดำเนินการศึกษาขยะครัวเรือนจากกลุ่มตัวอย่างที่ 22 ครัวเรือน และขยะตลาดชุมชน 36 ร้านค้า ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนขยะมีอัตราการเกิดขยะเฉลี่ย 0.61 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน องค์ประกอบขยะที่มีมากที่สุด ได้แก่ ขยะอินทรีย์ (ร้อยละ 38.90) รองลงมา ได้แก่ ขยะอันตราย (ร้อยละ 23.40) ขยะรีไซเคิล (ร้อยละ 21.68) และขยะทั่วไป (ร้อยละ 17.29) ตามลำดับ และตลาดมีอัตราการเกิดขยะเฉลี่ย 5.63 กิโลกรัมต่อครั้ง ส่วนใหญ่เป็นขยะทั่วไป (ร้อยละ 38.46) รองลงมาได้แก่ ขยะอินทรีย์ (ร้อยละ 32.54) และขยะรีไซเคิล (ร้อยละ 29.00) ตามลำดับ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะเริ่มต้นจากการคัดแยกขยะจากครัวเรือน การกำจัดขยะครบวงจรโดยการตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะอันตราย ศูนย์กำจัดขยะอินทรีย์ ธนาคารขยะสะสมบุญ การเพิ่มมูลค่าเศษผ้าและผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ครัวเรือนต้นแบบจัดการสิ่งแวดล้อมหน้าบ้านน่ามอง  ประเพณีจนองจองได และการสร้างกลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการหมู่บ้านน้อยพิทักสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วมนี้ ทำให้ชุมชนหนองขาย่างได้รับรางวัลโครงการชุมชนปลอดขยะสู่ความยั่งยืน (สะอาดบุรี) และรับรางวัล popula vote ประจำปี 2561

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2563). แนวทางการจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณา โครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ปี 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.datacenter.deqp. go.th/media. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 สิงหาคม 2563).
ดิษฐพล ใจซื่อ, เรณุวัฒน์ โคตรพัฒน์, ณฐพร คำศิริรักษ์, สัมฤทธิ์ ขวัญโพน, อาภรณ์รัตน์ เนาวะดี และธรรวรา ตันติกุลวัฒนกิจ. (2560). สถานการณ์ขยะและการจัดการขยะที่ต้นทางในชุมชน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 14(3) : 38-46.
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์. (2558). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน แผนพัฒนาเทศบาล 3 ปี (2558–2560). สำนักงานเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์.
นภวรรณ รัตสุข. (2559). การจัดการขยะแบบบูรณาการในชุมชน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. 3(5) : 260-273.
ภักดี สิทธิฤทธิ์กวิน, ศิริพงษ์ ตรีรัตน์, ไพทูรย์ ยศกาศ และสมชาย แสงนวล. (2562). การศึกษาการจัดการขยะด้วยวิธีกำจัดขยะที่ต้นทางแบบมีส่วนร่วมของ ชุมชนบ้านป่าก๊อ ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 20(2) : 1-13.
ภัทรกมล พลหล้า และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการจัดการขยะของตลาดนัดอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 18(3) : 92-103.
รุ่งเรือง งาหอม และสุพรรณษา จิราภานุสรน์. (2559). การมีส่วนรวมของชุมชนในการจัดการขยะของชุมชนบุลําดวนใต้ อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์วิชาการ ครั้งที่ 8” “วิจัยเพื่อประเทศไทย 4.0” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ วันที่ 22-23 ธันวาคม 2559.


วิรันดา จันทมี, กรรณิกา เรืองเดช, ชาวสวนศรีเจริญ, สมหมาย ยอดเพชร และไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ. (2561). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของแม่บ้านในชุมชนควนขนุน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 1(2) : 27-40.
สนัฎฐ์ชล ลุ่มสมบูรณ์. (2561). เทศบาลเมืองน่าน รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกให้หันมาใช้ตะกร้าสานและถุงผ้าแทนถุงพลาสติก พร้อมใช้ปิ่นโตในการใส่อาหารตามร้านค้า. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TNSOC 6112040010060. (วันที่ค้นข้อมูล : 5 สิงหาคม 2563).
สยามรัฐออนไลน์. (2561). ไม่เกิน 2 ปี บ่อขยะทม.บุรีรัมย์กำลังจะเต็ม เร่งตีปี๊บ รณรงค์ลดเลิกใช้ถุงพลาสติก-กล่องโฟม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://siamrath.co.th/n/ 53284. (วันที่ค้นข้อมูล : 10 กันยายน 2563).
สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2559). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (ปี 2561- 2564) จังหวัดบุรีรัมย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER4/ DRAWER078/ GENERAL/DATA0000/00000026.PDF. (วันที่ค้นข้อมูล : 1 สิงหาคม 2563).
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ : บริษัท บีทีเอส เพรส จำกัด.
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย. (2560). สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.oic.go.th/FILEWEB/ CABINFOCENTER3/ DRAWER056/ GENERAL/DATA0000/00000689.PDF. (วันที่ค้นข้อมูล : 10 สิงหาคม 2563).
อนันต์ โพธิกุล. (2561). การบริหารจัดการขยะชุมชน ของเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 4(1) : 107-121.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25