สารสกัดด้วยเอทานอลจากใบพลู สำหรับการควบคุมโรคเต้านมอักเสบในโคนม

ผู้แต่ง

  • Monton Visutthi สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • รัชนีกร มูลปา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • อนันตกร สุนทรพิทักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โคนม, โรคเต้านมอักเสบ, พลู, สารสกัดจากพืช, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย

บทคัดย่อ

การใช้ยาปฏิชีวนะอาจก่อให้เกิดการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรคเต้านมอักเสบในโคนม ในปัจจุบันนี้จึงได้มีการวิจัยสารสกัดจากพืช เพื่อใช้เป็นทางเลือกแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการวิจัยนี้จึงได้นำสารสกัดจากใบพลูที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคได้ทั้งแกรมบวก และแกรมลบมาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกัน และรักษาโรคเต้านมอักเสบในโคนม โดยการเตรียมสารสกัดจากใบพลูที่สกัดด้วยเอทานอล 95% สารสกัดที่ได้จะถูกตรวจสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียด้วยวิธี Agar disc diffusion และ Broth micro-dilution และเตรียมน้ำยาสารสกัดจากใบพลู จากนั้นนำน้ำยาที่ได้ไปทดลองใช้ในกับโคนม ผลการทดลองที่ได้พบว่า สารสกัดจากใบพลูที่เตรียมได้มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli ได้ดี โดยมีค่าความเข้มข้นน้อยที่สุดของสารสกัดที่ยับยั้งเชื้อทั้งสองชนิดเท่ากับ 0.62 mg/ml และ 2.5 mg/ml ตามลำดับ สำหรับผลการทดสอบในโคนมน้ำยาสารสกัดจากใบพลูสามารถป้องกันการติดเชื้อในเต้านมโคได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับน้ำยา Masodine และจากการทดลองเพื่อรักษาอาการเต้านมอักเสบในโคนม ด้วยการเตรียมเป็นน้ำยาสอดเต้านม โคด้วยน้ำยาสารสกัดจากใบพลูพบว่า น้ำยาสามารถลดค่าโซมาติกเซลล์ในน้ำนมลงได้ เมื่อใช้อย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 7 วัน งานวิจัยนี้ให้ผลการศึกษาที่มีแนวโน้มที่ดีในการที่จะพัฒนาสารสกัดจากใบพลู เพื่อใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25