การศึกษาผลเปลือกไข่ต่อกำลังอัดและสมบัติทางกายภาพของมอร์ตาร์
คำสำคัญ:
เปลือกไข่เผา, มอร์ตาร์, กำลังรับแรงอัด, ความหนาแน่น, การดูดซึมน้ำบทคัดย่อ
ในการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลเปลือกไข่ต่อกำลังอัดและสมบัติทางกายภาพของมอร์ตาร์ โดยการนำเปลือกไข่ที่เหลือทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมเผาที่อุณหภูมิสูง 1,100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง และนำเปลือกไข่ที่ผ่านการเผามาเป็นส่วนประกอบของมอร์ตาร์ โดยใช้อัตราส่วน 1:1:2 (ปูนซีเมนต์ : ทราย : น้ำ) ซึ่งเปลือกไข่ที่ผ่านการเผาจะนำมาแทนที่ทุกส่วนในร้อยละ 0,10, 20, 30, 40 และ 50 และทำการทดสอบกำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และการดูดซึมน้ำ ผลการทดสอบพบว่า ที่อายุการบ่ม 7 วัน เมื่อเพิ่มปริมาณของเปลือกไข่ส่งผลให้ค่าความหนาแน่น และค่ากำลังรับแรงอัดลดลง ค่าการดูดซึมน้ำเพิ่มขึ้น โดยค่ากำลังรับแรงอัดเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในช่วง 1.13-6.97 MPa ความหนาแน่นทั้งหมดเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในช่วง 1.18-1.51 g/cm3 ความหนาแน่นที่แท้จริงเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในช่วง 2.08-2.74 g/cm3 และการดูดซึมน้ำทั้งหมดเฉลี่ยสูงสุด ในช่วง 27.38-41.35 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ชิ้นงานทดสอบที่อายุการบ่ม 28 วัน พบว่ามีค่ากำลังรับแรงอัดเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในช่วง 3.40-7.63 MPa ความหนาแน่นทั้งหมดเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในช่วง 1.21-1.68 g/cm3 ความหนาแน่นที่แท้จริงเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในช่วง 2.26-2.86 g/cm3 และการดูดซึมน้ำทั้งหมดเฉลี่ยสูงสุด ในช่วง 26.93-40.70 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลจากการทดสอบพบว่า เปลือกไข่เผามีศักยภาพในการใช้เป็นส่วนผสมในมอร์ตาร์โดยแทนที่ทุกส่วน เพื่อเป็นทางเลือกในงานวัสดุก่อสร้างต่อไป
References
เกศทิพย์ อิศรางกูล ณ อยุธยา. 2547. การสกัดโปรตีนคลอลาเจนเมมเบลนของเปลือกไข่ไก่, น.1-3. ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 30. (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ). มหาวิทยาลัยมหิดล:กรุงเทพมหานคร.
มนัส อนุศิริ. (2549). ทฤษฎีและปฏิบัติการทดสอบวัสดุในงานวิศวกรรรมโยธา.บริษัทซีเอ็ด ยูเคชั่น จำกัด:กรุงเทพมหานคร.
วินิต ช่อวิเชียร.(2529).คอนกรีตเทคโนโลยี. พิมครั้งที่ 7.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.
ศักดิ์ดา ไตรปิฎก.(2555).การใช้เปลือกไข่ไก่เป็นส่วนผสมในการพัฒนาคอนกรีตมวลเบา. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
สำเริง รักซ้อน และปริญญา จินดาประเสริฐ.(2557).ทฤษฎีและการทดสอบ คอนกรีต เทคโนโลยี Theory and testing concrete technology.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงสยามการ พิมพ์: กรุงเทพมหานคร.
อัจฉรา ดวงเดือน. (2551). การศึกษาการกำจัดแคดเมียมโดยใช้เปลือกไข่, 470-479. ในการ ประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่41.(สาขาวิศวรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพมหานคร.
อลงกต ช้างเผือก. 2541. การผลิตแคลเซียมคลอไรด์จากเปลือกไข่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เอกลักษณ์ มณีทิพย์ และคณะ.(2552). อิทธิพลของเปลือกไข่ไก่เผาที่มีผลต่อกาลังรับแรงอัด ของมอร์ตาร์.งานวิจัย ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
Park, H.J.,S.W. Jeong, J.K. Yang, B.G. Kim and S.M. Lee. 2007. Removal of heavy metals using waste eggshell. Journal of Environmental Science. 19:1436-1441.
Stadelman, W.J. 2000. Eggs and egg products. 2nded. John Wiley and Sons,Inc.,New York.
Tsai, W.T., K. J. Hsien, H.C. Hsu, C.M. Lin, K.Y. Lin and C.H. Chin. 2008. Utilization of ground eggshell waste as an adsorbent for the removal of dyes from aqueous solution Bioresource Technology.99:1623-1629.
Yoo, S., J.S. Hsieh, P. Zou and J. Kokoszka. 2009. Utilization of calcium carbonate parbonate particles From eggshell waste as coating pigments for ink-jet printing paper. Bioresource Technology.100: 6416-6421
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น