ประสิทธิภาพสูตรผสมของสารสกัดจากทับทิม มะขามป้อม และพุดศุภโชค เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์เลี้ยง

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก โล่ห์ทองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุจิตรา รักกุศล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ณัฐริกา เผือดจันทึก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • มณฑล วิสุทธิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

สารสกัด, สูตรผสมสารสกัด, ทับทิม, มะขามป้อม, พุดศุภโชค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุระสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคของสารสกัดสูตรผสมจากทับทิม มะขามป้อม และพุดศุภโชค โดยใช้ส่วนเปลือก เนื้อ เมล็ด ใบ และดอก นำมาสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล 95% โดยนำสารสกัดทั้ง 6 ชนิด และสูตรผสม มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย 3 ชนิดได้แก่ Staphylococcus aureus ATCC25923, Methicillin-resistant Staphylococcus aureus NRRU001R  และ Escherichia coli ATCC25922  ด้วยวิธี disc diffusion และ broth microdillution โดยเลือกสูตรผสมที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อที่ดี มาศึกษาปริมาณความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ยับยั้งเชื้อ (ค่า MIC) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสูตรผสมลำดับที่ 1-13 ไม่มีมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อทั้ง 3 ชนิด แต่สูตรลำดับที่ 14-26 มีมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. aureus และ MRSA แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ E. coli นอกจากนี้พบว่าสูตรผสมสูตรที่ 16 และ 17 ให้ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อที่ดีกว่าสูตรผสมอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการตรวจหาค่า MIC พบว่า สารสกัดจากเปลือกทับทิม เนื้อมะขามป้อม และใบพุดศุภโชค สูตรผสมที่ 18 และ 21 มีค่า MIC ต่อเชื้อ S. aureus  เท่ากับ 2.5 mg/ml สูตรผสมที่ 16 และ 17 มีค่า MIC ต่อเชื้อ MRSA เท่ากับ 0.62 และ 0.31 mg/ml ตามลำดับ และทุกสูตรผสมมีค่า MIC ต่อเชื้อ E. coli มากกว่า 10 mg/ml

References

ชนิดา กานต์ประชา, ชาญณรงค์ นาคจำรัสศรี และวิศรุต บูรณสัจจะ. (2005). การแยกสาระสำคัญในสารสกัด

มะขามป้อม. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ณพัฐอร บัวฉุน. (2015). องค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบที่สกัดจาก

ตัวอย่างมะขามป้อม. หลักสูตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์. 1-8.

พัชรินทร์ มีทรัพย์ และ สวุิชญา บัวชาติ.(2018). ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรต่อการยับยั้งเชื้อ

Staphylococcus aureus และ Escherichia coli. KKU Res J.17, น. 880-94.

วันทนี สว่างอารมณ์ และพาฝัน จันทร์เล็ก. (2012). การเปรียบเทียบผลของสารสกัดจากสมุนไพรต่อการ

ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์,

(2), pp. 47 - 57.

สุคนธ์ ตันติไพบูลย์, วุฒิเทียนชัย น่วมเศรษฐี, เพชรลดา เดชายืนยง (2012). ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัดจาก

เปลือกไม้บางชนิด. KKU Res J . 17, pp. 880-94.

Ahmed Z, Khan SS, Khan M, Tanveer A, Lone ZA. (2010). Synergistic Effect of Salvadora persica

Extracts, Tetracycline and Penicillin Against Staphylococcus aureus. African Jour

Datta A Dhale; and Umesh P Mogle. (2011). Phytochemical Screening and Antibacterial

Activity of Phyllanthus emblica (L.). Science Research Reporter. 1(3), pp. 138-142.

Dhale D.A., (2012). Pharmacognistic evaluation of Phyllanthus emblica Linn (Euphorbiaceae). International

Journal of Pharma and Biosciences.3(3), pp. 210- 217.

Lee, J.H., Lee, D.U. and Jeong, C.S. (2009). Gardenia jasminoides Ellis ethanol extract and its

constituents reduce the risks of gastric and reverse gastric lesions in rats. Food and Chemical Toxicology.

, pp. 1127-31.

Lin W, Kuo HH, Ho LH, Tseng ML, Siao AC, Hung CT, Jeng KC, Hou CW. (2015). Gardenia jasminoides extracts

and gallic acid inhibit lipopolysaccharide-induced inflammation by suppression of JNK2/1 signaling

pathways in BV-2 cells. Iranian J Basic Med Sci. 18, pp. 555e62.

Naseem T, Farrukh MA (2015). Antibacterial Activity of Green Synthesis of Iron Nanoparticles Using

Lawsonia inermis and Gardenia jasminoides Leaves Extract. J Chem. pp. 1-7.

Nuamsetti T, Dechayuenyong P, Tantipaibulvut S. (2012). Antibacterial acivity of pomegranate

fruit peels and arils. Science Asia. 38(3), pp. 319-22.

Raghu HS, Ravindra P. (2010). Antimocrobial activity and phytochemical study of Phyllanthus

emblica Linn. International Journal of Pharmaceutical Studies and Research. 1, pp. 30–33.

Takashi, F., M. Wakaizumia, T. Ikamib and M. Saitoa. (2008). Amla (Emblica officinalis Gaertn.)

extract promotes procollagen production and inhibits matrix metalloproteinase -1 in human skin

fibroblasts. Journal of Ethnopharmacology.119, pp. 53–57.

T. Debnath, P.J. Park, N.C.D. Nath, N.B. Samad, H.W. Park, B.O. Lim. (2010). Antioxidant activity of

Gardenia jasminoides Ellis fruit extracts Food Chem, 128 (2011), pp. 697-703

R. A. A. Lelono, S. Tachibana, and K. Itoh. (2009). Isolation of antifungal compounds from Gardenia

jasminoides. Pakistan Journal of Biological Sciences. 12(13), pp. 949–956.

R. Farzinebrahimi. (2012). Tissue culture and biological activities of Gardenia jasminoides

Ellis [M.S. thesis], University of Malaya, Kuala Lumpur, Malaysia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25