การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงที่อัตราความหนาแน่นที่แตกต่างกันโดยใช้วัสดุหลบซ่อน

ผู้แต่ง

  • เหล็กไหล จันทะบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ฐิติมา ปางสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สุภาวัลย์ บุญหล้า มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • วุธเมธี วรเสริม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กุ้งก้ามแดง, อัตราความหนาแน่น, อัตราการเจริญเติบโต

บทคัดย่อ

การทดลองการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงที่อัตราความหนาแน่นที่แตกต่างกันโดยใช้วัสดุหลบซ่อน 3 ระดับ ได้แก่ 10, 20, และ 30 ตัวต่อตารางเมตร เพื่อศึกษาอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสม อัตราการเจริญเติบโตอัตราการรอดตาย และผลผลิต วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ใช้ระยะเวลา 2 เดือนผลการทดลอง พบว่า การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในกระชังที่อัตราความหนาแน่น 10, 20, 30 ตัวต่อตารางเมตร มีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 10.80, 8.17 และ 8.52 กรัม ความยาวสุดท้ายเฉลี่ย 6.49, 6.33 และ6.19 เซนติเมตร น้ำหนักเพิ่มต่อวัน 10.76, 9.15 และ 8.49 กรัม อัตรารอด 83.33, 75 และ 82.23 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการแลกเนื้อเท่ากับ 0.29, 0.25 และ 0.31 เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ชุดการทดลองที่อัตราความหนาแน่น10, 20 และ 30 ตัวต่อตารางเมตร ได้ผลผลิตเท่ากับ 0.098, 0.258 และ 0.358 กิโลกรัม รายได้จากการขายกุ้งก้ามแดง เท่ากับ 78.40, 206.40 และ 286.40 บาท มีต้นทุนผลผลิตเท่ากับ 29.98, -3.09 และ -0.21 ต่อกิโลกรัม ส่วนชุดการทดลองที่อัตราความหนาแน่น 20 ตัวต่อตารางเมตร มีต้นทุนการผลิตต่ำสุด -3.09 กิโลกรัม สำหรับการลงทุน พบว่า การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในกระชังที่ความหนาแน่น 10, 20 และ 30ตัวต่อรางเมตร ได้รับผลตอบแทน -72.57, -73.26 และ -76.02 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในกระชังที่อัตราความหนาแน่น 10 ตัวต่อรางเมตร มีความเหมาะสมเนื่องจากให้กำไรสุทธิและรายได้สุทธิสูง

References

กรมประมง. (2558). เลี้ยง 'กุ้งก้ามแดง' ในนาข้าว สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่มาแรง. โครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริทางการประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2559.

พรเทพ เนียมพิทักษ์, สุธี วงศ์มณีประทีป, ศิริภาวี เจริญวัฒนศักดิ์และ ประภวิษณุ์ ยศวิจิตร. (2557). ผลของ

ระดับความเค็มต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และการลอกคราบของกุ้งก้ามแดง (Cherax

quadricarinatus). วารสารเกษตรพระวรุณ. 11 (1) มกราคม – มิถุนายน, 39-46.

นิรนาม. (2558). กุ้งเรนโบว์. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2558, จาก http://aqua.c1ub.net

Clive, M.J., & Ruscoe, I.M. (2000). Assessment of stocking size and density in the production of red claw crayfish, Cherax quadricarinatus (von Martens) Decapoda: Parastacidae,

cultured under earthen pond conditions. Aquaculture. 189, pp. 63–71.

Jones, C. 2005. Cherax quadricarinatus (red claw crayfish) CAB International, Wallingford, UK.

McClain, W.R. (1995). Growth of Crawfish Procambarus clarkii as a Function of Density and Food Resources.

Journal of the world aquaculture society. 26 (1), pp. 24-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29