การพัฒนาคอนกรีตที่ผสมพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตที่ใช้แล้วทดแทนมวลรวมหยาบบางส่วน

ผู้แต่ง

  • จรัล รัตนโชตินันท์ Chandrakasem Rajabhat University

คำสำคัญ:

คอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติก, ต้นทุนคอนกรีต, พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตที่ใช้แล้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของคอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติกใช้แล้วทดแทนมวลรวมหยาบบางส่วนสำหรับงานก่อสร้าง การทดสอบความสามารถรับกำลังอัดระหว่างคอนกรีตแบบปกติและคอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติกทดแทนมวลรวมหยาบบางส่วนในอัตราส่วน 5% 10% 15% 20% 25% และ 30% ต่อน้ำหนักมวลรวมหยาบและช่วงอายุการบ่มของคอนกรีตที่อายุ 7 14 และ 28 วัน ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า คอนกรีตที่ผสมพลาสติกที่ใช้แล้วโดยทดแทนมวลรวมหยาบบางส่วนที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อค่าการรับกำลังอัดที่ลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีตแบบปกติที่ไม่มีส่วนผสมของพลาสติก สัดส่วนของขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วทดแทนมวลรวมหยาบบางส่วนที่เหมาะสม คือ สัดส่วนผสมของพลาสติกในคอนกรีตที่ระดับไม่เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักมวลรวมหยาบ และให้ค่าเฉลี่ยรับกำลังอัดประมาณ 217.4 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีต้นทุนของคอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติกใช้แล้วโดยประมาณ 1,938 บาทต่อลูกบาศก์เมตร โดยต้นทุนลดลงจากคอนกรีตแบบปกติประมาณร้อยละ 5 การรับกำลังอัดไม่น้อยกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรยังมีความเหมาะสมสำหรับการออกแบบโครงสร้างอาคารเพื่อการรับน้ำหนัก สัดส่วนผสมของพลาสติกในคอนกรีตที่มากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักมวลรวมหยาบจะมีค่าการรับกำลังอัดที่ต่ำกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรและมีต้นทุนคอนกรีตที่ลดลงสามารถใช้กับงานก่อสร้างที่ไม่ต้องการการรับน้ำหนักสูงมาก เช่น งานทางเดินเท้า งานคอนกรีตหยาบ

References

กัลยา ตันติยาสวัสดิกุล. (2010). การศึกษาการ แปลงรูปวัสดุขยะขวดน้ำดื่มพลาสติกเพื่อใช้ในงานออกแบบที่กรองแสงลานจอดรถ. Journal of Architectural/Planning Research and Studies 7 (2), pp. 159 172.

จรัล รัตนโชตินันท์. (2563). การศึกษาประสิทธิภาพของคอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว. วารสารวิชาการ EAU Heritage, 14(1) กันยายน-ธันวาคม 2563, น. 115-126.

นวรัตน์ นิธิสุวรรณรักษา. (2559). ผลของอัตราส่วนพลาสติกพอลิโพรไพลีนในอิฐมวลเบาต่อค่าความแข็งแรงอัดและสภาพนำความร้อน, วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 6(1) มกราคม-มิถุนายน 2559, น. 174-181.

วิหาร ดีปัญญา และกิตติพงษ์ สุวีโร. (2558). ผลิตภัณฑ์กระเบื้องยางพาราผสมเศษขยะพลาสติกเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม, งานวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

สำนักงานชลประทานที่ 14. (2562). มถ. 101-2550 มาตรฐานงานคอนกรีตและคอนกรีตเสริมเหล็กกรมชลประทาน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2563, จาก URL : http://irrigation.rid.go.th/rid14/water/library/shelf/formu/page/Transport/DRR/files/103.pdf

อมรรัตน์ สุริยวิจิตรเศรณี., สิทธิชัย แสงอาทิตย์ และอำนาจ อภิชาตวัลลภ. (2549). การศึกษาการใช้เส้นพลาสติกที่ใช้แล้วแบบสั้นผสมในคอนกรีต. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 11 (น.1-6). ภูเก็ต: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อุทัยฤทธิ์ โรจนวิภาต. (2560). Concrete Laboratory. ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, น. 144

Mohaamme. A.A. (2017). Fleural behavior and analysis of reinforced concrete beams made of recycled PET waste concrete. Construction and building materials, 155, pp. 593-604.

Peri, G., Travrso, M., Finkbeiner, M. & Rizzo, G. (2012). The cost of green roofs disposal in a life cycle perspective: Covering the gap. Energy, 48, pp. 406-414.

Ratanachotinun, J. & Pithan P. (2020). Assessment of the Feasibility of Autoclaved Aerated Concrete with Perforation in Thailand. Journal of Applied Science and Engineering, 23(2), pp. 249-259

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-19