ตัวแบบอนุกรมเวลาของปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ฑิพรัตน์ พิพัฒน์อนุกูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ชนัญกาญจน์ แสงประสาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จันทร์จิรา แกะทาคำ
  • กนกวรรณ บุญชาญ

คำสำคัญ:

อนุกรมเวลา, บอกซ์-เจนกินส์, ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบอนุกรมเวลาของปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยรายเดือนในจังหวัดขอนแก่น ด้วยวิธีวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบบอกซ์-เจนกินส์ ใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยรายเดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562  รวมทั้งสิ้น 72 คาบเวลา จากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน แบ่งข้อมูลออกเป็นส่วน ได้แก่ ข้อมูลชุดที่ 1 คือ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยรายเดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 5261 รวมทั้งสิ้น 60 คาบเวลา เพื่อสร้างตัวแบบอนุกรมเวลา ข้อมูลชุดที่ 2 คือข้อมูลปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยรายเดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ.2562 รวมทั้งสิ้น 12 คาบเวลา เพื่อใช้ทดสอบความแม่นยำของตัวแบบอนุกรมเวลาของปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยรายเดือน ด้วยเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root Mean Squared Error: RMSE) ต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบ ARIMA(1,1,0)(1,1,0)12   เมื่อไม่มีค่าคงที่ เป็นตัวแบบที่มีความเหมาะสมในการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยรายเดือนในจังหวัดขอนแก่น

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2563). ภูมิอากาศจังหวัดขอนแก่น.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://climate.tmd.go.th/data/province/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ภูมิอากาศขอนแก่น.

มุกดา แม้นมินทร์. (2549). อนุกรมเวลาและการพยากรณ์. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง.

ระบบบริการสารสนเทศภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://climate.tmd.go.th/data/province/

วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2558). การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 38(3), 211-223.

วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล. (2552). การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนของสถานีอุตุนิยมวิทยาและสถานีอากาศเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(2), 1-12.

Eni, D., & Adeyeye, F. (2015). Seasonal ARIMA Modeling and Forecasting of Rainfall in Warri Town, Nigeria. Journal of Geoscience and Environment Protection, 3, 91-98. doi: 10.4236/gep.2015.36015.

M Sidiq. (2018). Forecasting Rainfall with Time Series Model. IOP Conf. Series: Materials Science and Engineering 407(2018) 012154 doi:10.1088/1757-899X/407/1/012154.

Sathish, G., Lakshmi Narasinhaiah, P. Mahesh Babu, Samrat Laha & Bharath Kumar, N. (2017). Time Series Analysis of Monthly Rainfall for Gangetic West Bengal Using Box JenkinsSARIMA Modeling. Int.J.Curr.Microbiol.App.Sci. 6(7):2603-2610 doi: https://doi.org/10.20546/ijcmas. 2017.607.307

Swain S., Nandi S., & Patel P. (2018) Development of an ARIMA Model for Monthly Rainfall Forecasting over Khordha District, Odisha, India. In: Recent Findings in Intelligent Computing Techniques. Advances in Intelligent Systems and Computing, Vol. 708, 325-331.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-19