การพัฒนาโปรแกรมช่วยคำนวณการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง
คำสำคัญ:
โปรแกรมช่วยคำนวณการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง, การพัฒนาโปรแกรม, การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่องบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมช่วยคำนวณการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิด ไม่ต่อเนื่อง 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อโปรแกรมช่วยคำนวณการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิด ไม่ต่อเนื่อง โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยดังนี้ 1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) ออกแบบและพัฒนาโปรแกรม 3) ทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม 4) ประเมินคุณภาพโปรแกรม 5) จัดทำเอกสารประกอบการใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมช่วยคำนวณการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่องที่พัฒนาด้วยภาษา Visual Basic for Applications (VBA) ในโปรแกรม Microsoft Office Excel 365 โดยพัฒนาในรูปแบบ Add - in ซึ่งโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการคำนวณและสร้างกราฟฟังก์ชันมวลความน่าจะเป็น ฟังก์ชันการแจกแจงสะสม ทั้งหมด 6 การแจกแจง ได้แก่ การแจกแจงเอกรูปไม่ต่อเนื่อง การแจกแจงทวินาม การแจกแจงเรขาคณิต การแจกแจงทวินามเชิงลบ การแจกแจงไฮเพอร์จีโอเมตริก การแจกแจงปัวซง 2) แบบประเมินคุณภาพโปรแกรมช่วยคำนวณการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างสำหรับการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสาขาวิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า การประเมินคุณภาพของโปรแกรมในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.28 , S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความน่าเชื่อถือของระบบอยู่ในระดับดี ( = 4.29 , S.D. = 0.64) ด้านความสะดวกในการใช้งานของระบบอยู่ในระดับดี ( = 4.28 , S.D. = 0.63)
References
กิตินันท์ พลสวัสดิ. (2556). Basic excel VBA. นนทบุรี: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จํากัด.
กมลรัตน์ เณรบางแก้ว, สมภพ พันสืบวงค์และอนุสิทธิ์ อารัญ. (2550). การพัฒนาโปรแกรมสำหรับการคำนวณปรับแก้งานระดับด้วย VBA บน Microsoft Excel (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร
จรรยง พงศ์ปฏิเมธ. (2541). โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วย สอนการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ชินวัจน์ งามวรรณากร. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่อง ภาษาอังกฤษสำหรับนักสารสนเทศ (รายงาน ผลการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
ณภัทร กาญจนะวีระ, ธนพจน์ เพ็ชรเอี่ยมและพงศ์สุระ เถื่อนสอน. (2549). การพัฒนาโปรแกรมช่วย คำนวณเบื้องต้น สำหรับงานวงรอบ งานระดับ และงานเก็บรายละเอียด โดย VBA ใน Microsoft Excel (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร
ธงชัย ศรีวิริยรัตน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแอคติเวเต็ทสลัดจ์ด้วยโปรแกรม สำเร็จรูปไมโครซอฟท์ Excel (รายงาน ผลการวิจัย). ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา
นิภาพร แก้วตาและวิมลรัตน์ แก้วตา. (2553). การพัฒนาโปรแกรมช่วยพยากรณ์โดยใช้โปรแกรมวิชวล เบสิก 6.0 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
นภาภรณ์ จันทรศัพท. (2551). การเปรียบเทียบวิธีการสร้างตัวเลขสุ่มเมื่อนําไปประมาณค่าพารามิเตอร์ของการแจกแจงของตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่อง และการแจกแจงของตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นภาภรณ์ จันทรศัพท์. (2555). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ทดสอบความรู้ความเข้าใจสําหรับวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจําวัน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
พิมล พร้อมมูล. (2555). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการข้อมูลการควบคุมคุณภาพ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนคริ นทรวิโรฒ).
นางพรรัตน์ ธํารงวุฒิ. (2560). การพัฒนาวิธีจัดลําดับการผลิตโดยใช้วีบีเอบนโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี).
รัสรินทร์ โฆษิตรัฐพัชรสุข. (2552). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการและควบคุมเครื่องมือวัดเพื่อการสอบเทียบ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).
วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์การ. (2557). การสร้างเลขสุ่ม, การแจกแจงความน่าจะเป็นของข้อมูลนำเข้า. ในการวิเคราะห์แบบจำลอง (น.55-124). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล. (2560). คณิตสถิติศาสตร์ประยุกต์ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แสนศักดิ์ หัสคำ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ นพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), น. 60-62.
สาวิตรี พิพิธกุลและฤทธิชัย ผานาค. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเว็บไซต์ระบบศูนย์ข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), น.21.
อนุชิต กล้าไพรี. (2548). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อการวิเคราะห์พื้นฐานทางด้านประชากรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
Microsoft Excel 2016 ALL IN ONE FOR DUMMIES A Wiley Brand. (2016). New York: John Wiley & Sons.
Gerard M. Verschuuren. (2016). 100 Excel VBA Simulations. (n.p.).
DUANE BIRNBAUM. (n.d.). Microsoft Excel VBA Programming for the Absolute Beginner. (n.p.): Stacy L.Hiquet
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น