การศึกษาการเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรืองในกระถางเพาะกล้าไม้ จากเศษต้นทานตะวัน

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา กุลนาวิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ชมัยพร เจริญพร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • อนันตกร สุนทรพิทักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ปิ่นนารี ขูรีรัง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ปรัชญ์ บุญแซม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

กระถางเพาะกล้าไม้, เศษต้นทานตะวัน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะกล้าไม้จากเศษต้นทานตะวันซึ่งได้ทำการประดิษฐ์จากทดลองนำเศษต้นทานตะวันหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดมาผสมกับแป้งเปียกและอัดขึ้นรูปจากเครื่องอัดขึ้นรูปภาชนะที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยแบ่งการดำเนินงานวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการออกแบบและผลิตกระถาง ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบการเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรืองในกระถางเพาะกล้าไม้จากเศษต้นทานตะวัน และ ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบการคงตัวของกระถางในการใช้งาน โดยมีผลการทดสอบการใช้งานกระถางด้วยการปลูกต้นดาวเรือง ดังนี้ 1) ผลการเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะกล้าไม้ที่มีอัตราส่วนของเศษต้นทานตะวันและแป้งเปียกที่เหมาะสมคืออัตราส่วน 90:160 100:200 110:120 และ 110:200 มีการเจริญเติบโตทางลำต้น ดีกว่าต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำในอัตราส่วนอื่นๆ 2) ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกระถางเพาะกล้าไม้ โดยการสังเกตลักษณะต่างๆ ได้แก่ การคงตัวของกระถาง  การทรุดตัวของกระถาง การแตกหักของกระถาง และอื่นๆ พบว่า กระถางเพาะกล้าไม้ที่มีส่วนผสมทุกอัตราส่วนมีความผิดปกติสังเกตด้วยตาเปล่าได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หลังย้ายปลูกต้นกล้าดาวเรือง โดยกระถางที่มีความคงตัว จนถึงระยะเวลาสิ้นสุดการทดลอง (31 วันหลังย้ายกล้า) คือ กระถางที่มีอัตราส่วนของเศษต้นทานตะวันกับแป้งเปียกอัตราส่วน 90:160 และ อัตราส่วน 90:180 ซึ่งกระถางเพาะกล้าไม้จากเศษพืชต้นทานตะวันนี้ จากผลการศึกษาเกษตรกรสามารถนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

References

เกียรติยศ ทรงสง่า. (2546). การพัฒนาวัสดุอุ้มน้ำเซรามิกเพื่อการปลูกไม้กระถาง. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัชวินทร์ นวลศรี และคณะ (2563). การพัฒนากระถางต้นไม้ชีวภาพจากฝุ่นผงใบยาสูบร่วมกับปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก. วารสารแก่นเกษตร. ปีที่ 48 ฉบับพิเศษ 1 มกราคม 2561. หน้า 1003 - 1010.

ปทุมทิพย์ ต้นทับทิมทอง และคณะ. (2548). กระถางต้นไม้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ.

ประสิทธิ์ ชัยเสนา มุกดา สุขสวัสดิ์ ฤทธิรณ สิงห์ดวง และวาสนา ชัยเสนา. (2552). การศึกษาการแปรรูปกระดาษเหลือใช้เป็นกระถางปลุกต้นกุหลาบหินชนิดเคลือบสารและไม่เคลือบสาร. รายงานการวิจัย, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพิษณุโลก.

ภคนี ติปัญโญ และ สรสัช มีโค. (2558). การปรับปรุงเครื่องอัดกระถางผักตบชวาระบบไฮดรอลิก. รายงานโครงงานวิศวกรรมเกษตร. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน.

วรรณวิภา ไชยชาญ และ กัตตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์. (2561). การผลิตกระถางต้นไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากกากตะกอนน้ำมันปาล์ม และวัสดุเหลือทิ้งจากการเพาะเห็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2561. หน้า 497-511.

วีรวุฒิ พรหมมา. (2551). การศึกษาสูตรดินผสมกากก้นตะกอนกรองอ้อยเพื่อการปลูกไม้ดอกกระถาง. รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09