การพัฒนาระบบแชทบอทเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและรับสมัครเรียนออนไลน์แบบอัตโนมัติ กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ระบบแนะนำหลักสูตร, ระบบประชาสัมพันธ์ออนไลน์, แชทบอทบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบแชทบอทเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและระบสมัครเรียนออนไลน์แบบอัตโนมัติ กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบแชทบอทที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลหลักสูตร โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 คน และนักเรียนและนักศึกษา 29 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบแชทบอทเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและรับสมัครเรียนออนไลน์แบบอัตโนมัติ กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) แบบสอบถามความความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบแชทบอทที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบแชทบอทเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและรับสมัครเรียนออนไลน์แบบอัตโนมัติ กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พบว่าระบบแชทบอทเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและรับสมัครเรียนออนไลน์แบบอัตโนมัติ ประกอบด้วย ระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบโต้ตอบและระบบแสดงผลมี 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ส่วนความสะดวกในการใช้งานและส่วนประสิทธิภาพของระบบ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจระบบแชทบอทเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรแบบอัตโนมัติพบว่าผู้ใช้งานมีความพึ่งพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (=4.54, S.D.=0.55)
References
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา , สืบค้นวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ,จาก https://sciencetech.nrru.ac.th/
ทิพย์วรรณ ฟูเฟื่อง , อนุสรณ์ เจริญนาน , วันดี โชคช่วยพัฒนากิจ , พงศ์ปณต ทองงาม และ เรเน่ ชมิทท์ (2564).การพัฒนาแชทบอทให้ความรู้ด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 4.(น.29-38). กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
พิชญะ พรมลา และ สรเดช ครุฑจ้อน (2563). ผลการใช้แชทบอทช่วยในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), น.100-109.
ภาวิดา มหาวงศ์. (2564).การศึกษาความต้องการจำเป็นของบริการแนะแนวในนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 (พิษณุโลก อุตรดิตถ์). วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาการสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 14(2), น.54-69
สุมนา บุษบก, ณัฐพร เพ็ชรพงษ์ และ จีรนุช สิงโตแก้ว. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชัน Chatbot สําหรับ งานบริการนักศึกษากรณีศึกษากองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 19(2), น.85-94
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.etda.or.th /th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx
อุษณีย์ ภักดีตระกูลวงศ์, นฤพล สุวรรณวิจิตร, ณัฐชัย สุบรรณเกตุ, ศุภาดา ทองไทย, และสิรินท์ รัต์ปานประดิษฐ์ (2563). การพัฒนาระบบแชทบอทเพื่อบริการสารสนเทศงานแนะแนวการศึกษาต่อสําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 12(น. 527-534). นครปฐม:มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
MICE INTELLIGENCE CENTER. (2561). ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คือกุญแจสู่อนาคตสำหรับธุรกิจไมซ์, สืบค้นเมื่อวันที่10 กันยายน 2564.จาก : https://intelligence.Businesseventsthailand.com/th/pdfviews/57315573724821.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น