การพัฒนาเกมสยองขวัญตามระดับความกลัว

ผู้แต่ง

  • ประภานุช ถีสูงเนิน -
  • ศักดิ์นรินทร์ ศรีตระกูล
  • ภาสกร เวชสิทธิ์

คำสำคัญ:

เกมคอมพิวเตอร์, เกมสยองขวัญ, ระดับความกลัว

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบเกมสยองขวัญตามระดับความกลัว และ 2) พัฒนาเกมสยองขวัญด้วยโปรแกรม Unreal Engine 4 ซึ่งการออกแบบฉากเกมสยองขวัญ แบ่งตามระดับความกลัวทั้งหมด 10 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 ความสงบเป็นการสำรวจแผนที่อย่างปลอดภัย, ระดับ 2-4 ความวิตกกังวลจะเริ่มมีเสียงประกอบที่ไม่ทราบต้นกำเนิดเสียง ปรากฎรอยเลือดหรือวัตถุที่มีคราบเลือด รวมถึงวัตถุวิ่งตัดหน้าหรือตกจากที่สูง, ระดับ 5-6 ความเครียดจะได้ยินเสียงฝีเท้าเดินตามหลังหรือการปรากฏตัวของวัตถุอย่างรวดเร็ว, ระดับ 7-8 ความกลัวจะปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น แสงสว่าง ท้องฟ้ามืดสลัว หรือสภาพอากาศ รวมถึงการปรากฏตัวของวัตถุที่รุนแรงเพิ่มขึ้น, ระดับ 9 ความหวาดกลัวเกิดการไล่ล่า และระดับ 10 ความตื่นตกใจเกิดการถูกจับได้หรือโดนโจมตีจนชีวิตหมด ปรากฏภาพเต็มหน้าจออย่างรวดเร็ว โดยการออกแบบคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนุกของผู้เล่น 8 หัวข้อ ได้แก่ สมาธิ ความท้าทาย ทักษะของผู้เล่น การควบคุม เป้าหมายของเกม ผลสะท้อนกลับ ความจดจ่อ และความวิตกกังวล ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ Unreal Engine 4, SketchUp, Adobe Premiere Pro และ Blender เป็นต้น   

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบฉากประกอบของเกมสยองขวัญเพื่อรับมือกับความวิตกกังวลตามสถานการณ์ แบ่งออกเป็น 10 ระดับตาม Level of Fear ซึ่งเป็นการออกแบบฉากของเกมสยองขวัญ เช่น ความสงบปราศจากความกลัวโดยสิ้นเชิง, ความหวาดกลัวเกิดจากศัตรูไล่ตาม เป็นต้น 2) การพัฒนาเกมสยองขวัญเพื่อรับมือกับความวิตกกังวลตามสถานการณ์ได้พัฒนาเกมสยองขวัญด้วยโปรแกรม Unreal Engine 4 ใช้ในการพัฒนาเกมด้วย Blueprint, โปรแกรม SketchUp ใช้ในการสร้างแผนที่, โปรแกรม Adobe Premiere Pro ใช้ในการตัดต่อเสียง และโปรแกรม Blender ใช้ในการสร้างโมเดลตัวละคร รวมถึงการใช้แนวคิดเกี่ยวกับความวิตกกังวลตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้เล่นพบเห็นภายในเกม เพื่อสร้างบรรยากาศ และความรู้สึกร่วมไปกับเกม

References

ตฏิลา จําปาวัลย์. (2561). ความวิตกกังวลตามสถานการณ์. วารสารพุทธจิตวิทยา, 3(1), น. 13-20.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง, วีรภัทร จันทรจตุรภัทร และศิวดล ภาภิรมย์. (2564). การออกแบบเกมดิจิทัล. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), น. 217-228.

Jani Hämäläinen. (2020). Game Development with Unreal Engine 4. (Bachelor’s Degree in Business Information Technology). Laurea University of Applied Sciences, Finland. Retrieved from

https://www.theseus.fi/handle/10024/346676

Konstantinos Ntokos. (2018). Level of Fear: Analysis of Fear Spectrum into a tool to support Horror Game Design for Immersion and Fear. Computer Game

Development and Education: An International Journal, 1(1), pp. 33-43.

Penelope sweetser and Peta wyeth. (2005). GameFlow: A Model for Evaluating Player Enjoyment in Games. ACM Computers in Entertainment, 3(3), pp. 3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09